2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย ในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ในอำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 23 กันยายน 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 13 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม - กันยายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า  
     บทคัดย่อ ปัจจุบันภาวะน้ำหนักเกินเป็นปัญหาที่สำคัญในทุกระดับและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นการแก้ไขปัญหาภาวะน้ำหนักเกินจึงควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่มีภาวะน้ำหนักเกินในอำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญกลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ซึ่งเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในอำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 45 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การบรรยายให้ความรู้ แจกคู่มือ การอภิปรายกลุ่ม การจัดกิจกรรมกลุ่ม เสนอตัวแบบจริง สาธิตการประกอบอาหารและฝึกปฏิบัติอาหารเพื่อสุขภาพ จัดโมเดลอาหารตามธงโภชนาการ การออกกำลังกายโดยการเต้นบาสโลบประกอบเพลงลูกทุ่ง การแข่งขันการลดน้ำหนัก ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลองโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบความแตกต่างด้วย Pair Sample T-test และ Independent Sample T-test กำหนดระดับนัยสำคัญ 0.05 และค่าความเชื่อมั่น 95%CI ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนค่าเฉลี่ยด้านความรู้เรื่องการออกกำลังกายและการบริโภคอาหาร ด้านการรับรู้ความสามารถของตนเอง ด้านความคาดหวังในผลลัพธ์และด้านการปฏิบัติตนในการออกกำลังกายและการบริโภคอาหารที่เหมาะสมด้านความรอบรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน สูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) และกลุ่มทดลองมีค่าดัชนีมวลกายและค่าเฉลี่ยของเส้นรอบเอว ลดลงกว่าก่อนการทดลองและแตกต่างกับกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) ดังนั้น โปรแกรมนี้จึงมีผลดีต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการออกกำลังกาย ซึ่งส่งผลให้ค่าดัชนีมวลกายและขนาดของเส้นรอบเอวของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในอำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญลดลงได้  
     คำสำคัญ โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, ภาวะน้ำหนักเกิน, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 
ผู้เขียน
595110101-0 น.ส. จุฑาธิป ผาดไธสง [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0