2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการจัดการสารน้ำในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ต่อผลลัพธ์ที่คัดสรร ที่กลุ่มงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมแพ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 6 กันยายน 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 38 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-มีนาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การจัดการสารน้ำในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดระหว่างการเริ่มต้นรักษา เพื่อช่วยระบบไหลเวียนโลหิตเป็นความท้าทายที่สำคัญ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยและเกิดความรุนแรงจนทำให้มีภาวะคุกคามต่อชีวิตได้ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการจัดการสารน้ำในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ต่อผลลัพธ์ที่คัดสรร ที่กลุ่มงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมแพ โดยใช้รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลองแบบ Non-randomized control–group pretest posttest design กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ ผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่เข้ารับการรักษา ที่กลุ่มงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมแพ ระหว่างเดือนมีนาคม – กรกฎาคม พ.ศ. 2562 จำนวน 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่มเปรียบเทียบที่ได้รับการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยทีมีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (ตามแนวทางมาตรฐานของโรงพยาบาล) จำนวน 30 ราย และกลุ่มทดลองได้รับการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยทีมีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ร่วมกับแนวปฏิบัติการพยาบาลในการจัดการสารน้ำในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด จำนวน 30 ราย ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS version 20 และวิเคราะห์ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้ Mean ± SD, Independence t–test, Chi-square test และ Relative risk (RR), ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยกลุ่มเปรียบเทียบมีค่าเฉลี่ย Mean Arterial Pressure (MAP) ณ ชั่วโมงที่ 1 และ ณ ชั่วโมงที่ 3 น้อยกว่าผู้ป่วยกลุ่มทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งมีค่าเฉลี่ย MAP ณ ชั่วโมงที่ 1 เท่ากับ 67.67 mm Hg และ 73.07 mm Hg (SD 9.96, SD 8.40) ค่าเฉลี่ย MAP ณ ชั่วโมงที่ 3 เท่ากับ 72.20 mm Hg และ 78.20 mm Hg (SD 4.78, SD 8.58) ผู้ป่วยกลุ่มเปรียบเทียบมีค่าเฉลี่ย Serum lactate level ณ ชั่วโมงที่ 3 และ ณ ชั่วโมงที่ 6 มากกว่ากลุ่มทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยค่าเฉลี่ย ณ ชั่วโมงที่ 3 เท่ากับ 3.36 mmol/L และ 2.17 mmol/L (SD 1.31, SD .85) ค่าเฉลี่ย Serum lactate level ณ ชั่วโมงที่ 6 เท่ากับ 3.39 mmol/L และ 1.76 mmol/L (SD 1.71, SD .61) ผู้ป่วยกลุ่มเปรียบเทียบมีค่าเฉลี่ย Urine output ณ ชั่วโมงที่ 3 น้อยกว่าผู้ป่วยกลุ่มทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าเฉลี่ย 0.96 mL/kg/hr. และ 3.33 mL/kg/hr. (SD 1.25, SD 2.61) นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับแนวปฏิบัติการพยาบาลเกิดการเพิ่มของค่า MAP ≥ 65 mm Hg ณ ชั่วโมงที่ 1 มากกว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่ได้รับแนวปฏิบัติการพยาบาล 1.58 เท่า (RR = 1.58, 95% CI 1.70–27.75) ผู้ป่วยกลุ่มทดลองเกิดการลดลงของค่า Serum lactate level < 2 mmol/L ณ ชั่วโมงที่ 3 มากกว่าผู้ป่วยกลุ่มเปรียบเทียบ 4 เท่า (RR = 4, 95% CI 1.48–24.99) ผู้ป่วยกลุ่มทดลองเกิดการลดลงของค่า Serum lactate level < 2 mmol/L ณ ชั่วโมงที่ 6 มากกว่าผู้ป่วยกลุ่มเปรียบเทียบ 3.14 เท่า (RR = 3.14, 95% CI 2.8–29.13) ผู้ป่วยกลุ่มทดลองเกิดการเพิ่มของค่า Urine output ≥ 0.5 mL/kg/hr. ณ ชั่วโมงที่ 3 มากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ 1.61 เท่า (RR = 1.61, 95% CI 2.31–161.56) พยาบาลวิชาชีพมีค่าเฉลี่ยความมีวินัยต่อการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลอยู่ในระดับสูงร้อยละ 98.75 (SD 5) และพยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจในภาพรวมต่อการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลอยู่ในระดับพึงพอใจมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.69 คะแนน (SD 0.47) ผลการวิจัยสะท้อนให้ว่า แนวปฏิบัติการพยาบาลสามารถช่วยให้ผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่ได้รับการจัดการสารน้ำมีความปลอดภัย พยาบาลวิชาชีพมีวินัย และมีความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล อย่างไรก็ตามควรศึกษาต่อเนื่องไปยังหอผู้ป่วยหนัก หรือหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤต เพื่อยืนยันผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการจัดการสารน้ำในโรงพยาบาล  
     คำสำคัญ การจัดการสารน้ำ ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด แนวปฏิบัติการพยาบาล 
ผู้เขียน
605060044-4 น.ส. อัมพร ระวังดี [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0