2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ สภาพการเป็นผู้ประกอบการเกษตรของครัวเรือนเกษตรพื้นที่ใกล้เมือง กรณีศึกษาตำบลบ้านหว้า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 21 กันยายน 2562 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการทางธุรกิจและนวัตกรรมทางการจัดการระดับชาติ ปี 2562 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ 
     สถานที่จัดประชุม วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 21 กันยายน 2562 
     ถึง 21 กันยายน 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2562 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 1119 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ พื้นที่ใกล้เมืองเป็นชุมชนที่มีทางเลือกในการประกอบอาชีพมากกว่าชุมชนพื้นที่ห่างไกลเมือง การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเป็นผู้ประกอบการเกษตรของครัวเรือนเกษตรกรพื้นที่ใกล้เมือง กรณีศึกษาตำบลบ้านหว้า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยใช้กรอบประเด็นหัวข้อย่อยเป็นเครื่องมือรวบรวมจากผู้รู้ เกษตรกร ผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการจัดเวที ทำการรวบรวมข้อมูลเดือนมกราคม 2561- เดือนมิถุนายน 2562 ผลการศึกษาพบว่า การเป็นผู้ประกอบการเกษตรและการประกอบอาชีพเกษตรของครัวเรือนเกษตรกรพื้นที่ใกล้เมืองสามารถจำแนกได้ 3 ประเด็น ได้แก่ (1) เกษตรเพื่อดำรงชีวิตเกษตร เป็นการเกษตรโดยมีการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์เพื่อบริโภคและจำหน่ายเป็นรายได้ (2) เคหกิจเกษตร ซึ่งประกอบด้วยหัตถกรรมเกษตร การแปรรูป และการบริการและการท่องเที่ยว เป็นการนำผลผลิตทางการเกษตรมาแปรรูปเป็นสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร และ (3) เกษตรเข้มข้น เป็นการทำการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีและการจัดการสมัยใหม่ที่เหมาะสมเข้ามาช่วยในการทำการเกษตร เพื่อให้ได้ผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ที่ดีมีคุณภาพ และจำหน่ายได้ราคาสูง ดังนั้น การพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ใกล้เมืองควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาครัวเรือนเกษตรกรเป็นผู้ประกอบการทั้ง 3 ประเด็นดังกล่าวข้างต้น Nearby urban area peoples have several choices of careers more than the far urban area. The objective of this study focused on the agricultural entrepreneurship conditions of farmer households in nearby urban area, a case of Banwa sub-district, Muang district, Khon Kaen province by using sub-topics as tool for in-depth interview and group discussion form key informants, farmers, community leaders and the staffs of government and private sectors during 2018 January to 2019 June. The results showed that agricultural entrepreneurship conditions of farmer households in the study area can be classified into 3 issues. (1) Livelihood agriculture, which is agriculture by planting crops and raising animals for consumption and to sell for income. (2) Home economics in agriculture, including agriculture handicrafts, food processing, and services and tourism, which is to change agriculture products into processed products or services related to agriculture. and (3) Intensive agriculture, an agricultural practice, using modern technology and appropriate management to assist in agriculture practice, to get good quality products and sell them at a higher price. Therefore, the development of agriculture in the area nearby urban should give priority to the development of farmer households as entrepreneurship in all three issues mentioned above. 
ผู้เขียน
595030101-5 น.ส. วรัญชลี ทองสารไตร [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0