2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ความต้องการสารสนเทศดิจิทัลทางการเกษตรโดยใช้สมาร์ตโฟน ของผู้ประกอบการเกษตรกรรุ่นใหม่ในจังหวัดกาฬสินธุ์ DIGITAL INFORMATION NEEDS FOR AGRICULTURE BY USING SMARTPHONE OF YOUNG SMART FARMERS AS ENTREPRENEURSHIP ON AGRICULTURE IN KALASIN PROVINCE 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 21 กันยายน 2562 
การประชุม
     ชื่อการประชุม งานประชุมวิชาการทางธุรกิจและนวัตกรรมทางการจัดการระดับชาติ ประจำปี 2562 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 21 กันยายน 2562 
     ถึง 21 กันยายน 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2562 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 1112 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะพื้นฐานบางประการ และสภาพการใช้งานสมาร์ตโฟนของผู้ประกอบการเกษตรกรรุ่นใหม่ 2) ศึกษาความต้องการสารสนเทศดิจิทัลของผู้ประกอบการเกษตรกรรุ่นใหม่ กำหนดกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการเกษตรกรรุ่นใหม่ในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 89 ราย และเก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ ค่าสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลจากศึกษาพบว่า เป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 62.9 และเป็นเพศชายร้อยละ 37.1 มีอายุโดยเฉลี่ย 37 ปี ระดับการศึกษาต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรืออนุปริญญาตรีร้อยละ 55.1 พื้นที่การเกษตรเฉลี่ย 25 ไร่ โดยส่วนใหญ่ทำการเกษตรผสมผสานร้อยละ 95.5 ประสบการณ์ใช้สมาร์ตโฟนเฉลี่ย 4.8 ปี ใช้สมาร์ตโฟนเครื่องละไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 46.1 ใช้ระบบเครือข่ายของ เอไอเอส ร้อยละ 71.9 ซึ่งมีค่าบริการเฉลี่ยเดือนละ 617.99 บาท ส่วนใหญ่มีการติดต่อสื่อสารทางเฟซบุ๊ก ร้อยละ 93.3 และมีความต้องการสารสนเทศดิจิทัลด้านพืช ระดับปานกลางถึงมาก สำหรับด้านปศุสัตว์ และด้านประมง มีระดับปานกลาง ส่วนใหญ่ต้องการสารสนเทศดิจิทัลหัวข้อการตลาดเป็นอันดับแรก ผลวิจัยนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสารสนเทศดิจิทัลทางการเกษตร เพื่อให้ผู้ประกอบการเกษตรกรรุ่นใหม่ใช้ในการสืบค้นและเข้าถึงสารสนเทศดิจิทัลที่เป็นปัจจุบันและตรงกับความต้องการ The objectives of this research were to 1) study some fundamental characteristics and use of smartphones and digital information of Young Smart Farmers (YSF) as entrepreneurship on agriculture; 2) study the needs of agricultural digital information. 89 YSF as entrepreneurship on agriculture in Kalasin Province answer interviewed. The data was analyzed for percentage, frequency, mean and standard diviatiom. The results of the study showed that female was 62.9 percent, male was 37.1 percent. Mean age was 37 years, graduated with a lower education level than a diploma (55.1 percent). With an mean agricultural area of 25 rai, integrated farming did 95.5 percent. Experience using smartphone for an mean was 4.8 years. About used smartphone worth no more than 5,000 Baht (46.1 percent). AIS was the most popular network (71.9 percent). Mean phone service cost was 617.99 baht/month. Communicating through social networks via Facebook was 93.3 percent. YSF as entrepreneurship on agriculture digital information needs of YSF as entrepreneurship on agriculture for plant at moderate to high level, for livestock and fishery was at moderate. Most of them required digital information on marketing item. The research results will be used as guidelines for the development of agricultural digital information, agricultural information database and application for agricultural database search. 
ผู้เขียน
595030100-7 นาย วรกฤต ชาธิรัตน์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0