2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title ประตู”ถั่ง”การค้ามั่นคง กำไรมั่งคั่ง 
Date of Distribution 12 July 2019 
Conference
     Title of the Conference ศิลปกรรมวิจัย ครั้งที่5 ศิลปะสร้างโลก 
     Organiser ศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Conference Place ณ โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนแวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดขอนแก่น 
     Province/State Khon Kaen 
     Conference Date 12 July 2019 
     To 13 July 2019 
Proceeding Paper
     Volume 2562 
     Issue
     Page 162 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract จีนเป็นประเทศที่มีอารยะรรมเก่าแก่โบราณ ซึ่งมีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ สังคม และการเมืองที่ยาวนานซับซ้อน ทั้งยังเป็นชนชาติหนึ่งที่อุดมไปด้วยนักคิด นักปรัชญาที่มีชื่อเสียง รวมถึงด้านกระบวนการงานช่างที่ล้ำลึกด้วยภูมิปัญญาอันเฉลียวฉลาดด้านเทคนิค ความงามที่ถือว่ามีเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ไม่เป็นสองรองใครในโลก สะท้อนได้จากสินค้าที่เป็นที่นิยม และการเดินเรือในอดีตของจีน ซึ่งสินค้าต่างๆที่เป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษนี้ ล้วนแล้วแต่นำมาซึ่งเม็ดเงิน กำไร ความมั่งคั่งอย่างมหาศาลแก่จีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างประเทศไทย ชาวจีนมีการเดินทางมาติดต่อ ค้าขายและสร้างความสัมพันธ์กับผู้คนในแผ่นดินสยามมาเนินนานมากแล้ว ตั้งแต่สมัยทวารวดี สุโขทัย เรื่อยมาจนถึงสมัยอยุธยา ที่การค้า การเชื่อมโยงเป็นไปอย่างราบรื่นคึกคัก ชาวจีนในอยุธยามีการสร้างอาคารบ้านเรือนร้านค้า ร้านขายอย่างกว้างขวาง (ทิศใต้บริย่านป้อมเพชร บางกระจะ) ซึ่งย่านการค้าที่สำคัญๆอย่างเช่น ย่านตลาดบ้านจีนปากคลองขุนละครไชย ย่านตลาดใหญ่ท้ายพระนคร ย่านตลาดนายไก่(นายก่าย) ย่านตลาดประตูข้าวเปลือก ซึ่งบรรดาย่านการค้าเหล่านี้มีตึกจีนตั้งอยู่ทั้งสองฟากถนนหลวงคนจีนคนไทยนั่งร้านขายสรรพสิ่ง สินค้ามีเครื่องสำเภา เครื่องทองเหลือง ทองขาว กระเบื้อง ถ้วยโถโอชาม ผ้าแพรสีต่างๆอย่างจีน เป็นต้น(สุจิตต์ วงษ์เทศ,2561) อาคารร้านค้า ร้านขายมีรูปแบบอย่างสถาปัตยกรรมจีน ซึ่งมีทั้งแบบชั้นเดียว สองชั้น โดดเด่นด้วยโครงสร้างที่ดูสวยงามโอ่อ่า มีความอ่อนช้อยกว่ากลุ่มสถาปัตยกรรมของชาติอื่นๆ โดยเฉพาะทรงหลังคาลักษณะโค้งงอนตรงปลาย ซึ่งเป็นเทคนิคการสร้างคานรับโครงหลังคาขึ้นไปเป็นชั้นๆ เรียกว่า โตวกง ลักษณะอย่างนี้ปัจจุบันเป็นที่แพร่หลายทั่วไปในงานสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ทั้งของจีน เกาหลี ญี่ปุ่นและในไทย แต่ลักษณะทางสถาปัตยกรรมอย่างหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ และแฝงนัยยะด้านความเชื่อที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานอีกอย่างนั่นก็ คือ กรอบประตู”ถั่ง”(ถั่ง แปลว่า กำไร) ลักษณะเป็นกรอบไม้สี่เหลี่ยมที่มีความหนาของไม้พอสมควร ทั้งนี้เนื่องจากชาวจีนมักจะไม่นิยมสร้างอาคารที่มีเสาค้ำจำนวนมาก กรอบประตูและคานอาคาร จึงจำเป็นจะต้องมีขนาดที่ใหญ่โตแข็งแรง เพื่อสามารถรับน้ำหนักโครงสร้างด้านบนอื่นๆได้อย่างไม่มีปัญหา ดังนั้นในความหมาย ความสำคัญของกรอบประตู”ถั่ง”จึงไม่ใช่เป็นเพียงกรอบไม้เนื้อแข็งที่เอาไว้แต่ยึดจับกับประตูบานฟี้ยม หรือเพื่อแก้ปัญหาทางโครงสร้างด้านอาคารเท่านั้น แต่กรอบประตู”ถั่ง”นี้ ยังมีนัยยะอันลึกซึ้งที่สะท้อนถึง ความหวัง ความเชื่อ ความศัทธา และความผูกพันของชาวจีนอันมีรากเหง้ามาจากแนวคิดปรัชญาตามคำสอนของ”ขงจื้อ” ประตู”ถั่ง”จึงถือว่าเป็นความสำเร็จสูงสุดอย่างหนึ่งของการหลอมรวมไว้ซึ่งงานด้านสถาปัตยกรรมและคติความเชื่อจีนไว้ได้อย่างกลมกลืนจนกลายเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญชัดเจนหากเรานึก ถึงคุณลักษณะบางอย่างในอาคารจีน ปัจจุบันกรอบประตู”ถั่ง”ของอาคารเก่ารูปแบบจีนหลายหลังในประเทศไทยยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ ซึ่งในบทความนี้จะขอยกตัวอย่างอาคารเก่ารูปแบบจีนในย่านการค้าเก่าแก่ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ไว้เป็นกรณีศึกษาโดยเฉพาะ  
Author
607220029-4 Mr. SONGWOOT KAEWVISIT [Main Author]
Fine and Applied Arts Doctoral Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Poster 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0