2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การจัดการความเสี่ยงโดยใช้ FMEA (FAILURE MODE AND EFFECTS ANALYSIS) ในลูกโซ่ความเย็นวัคซีน อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 17 ตุลาคม 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารเภสัชกรรมไทย 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
     ISBN/ISSN 1906-5574 
     ปีที่ 13 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม - มีนาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การจัดการความเสี่ยงโดยใช้ FMEA (FAILURE MODE AND EFFECTS ANALYSIS) ในลูกโซ่ความเย็นวัคซีน อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ บทคัดย่อ ที่มา: กระบวนการลูกโซ่ความเย็นที่ดี มีความสำคัญต่อคุณภาพวัคซีนและประสิทธิภาพการป้องกันโรคด้วยวัคซีน วัตถุประสงค์: เพื่อประยุกต์ใช้เครื่องมือ Failure Mode and Effect Analysis (FMEA) ในการจัดการความเสี่ยงของลูกโซ่ความเย็นวัคซีนในอำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ วิธีการ: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ รวม 12 คน ใช้การจัดการความเสี่ยงเชิงรุกตามขั้นตอนของ FMEA ได้แก่ 1)เขียนผังกระบวนการทำงาน 2)ระบุข้อบกพร่อง ความเสี่ยง และผลที่เกิดจากข้อบกพร่องในแต่ละขั้นตอน 3)ระบุค่าความน่าจะเป็นที่จะเกิดข้อบกพร่อง (occurrence), ค่าความรุนแรงของผลกระทบ (severity) และค่าความสามารถในการค้นพบความเสี่ยง (detection) 4)คำนวณค่า RPN (Risk Priority Number) และจัดลำดับ 5) วางมาตรการป้องกัน/ลด ความเสี่ยง ผลการศึกษา: กระบวนการลูกโซ่ความเย็นวัคซีนอำเภอสนม มีทั้งสิ้น 8 กระบวนการหลัก พบความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ 56 รายการ พบมากที่สุดในกระบวนการเก็บรักษาวัคซีนที่หน่วยบริการ 13 รายการ (ร้อยละ 23.21) มีความเสี่ยงเพียงรายการเดียวที่มีความรุนแรงของผลกระทบที่เกิดจากความเสี่ยงในระดับ 5 คือ ความเสี่ยงเรื่องการแพ้วัคซีนแบบรุนแรง มี 8 รายการความเสี่ยงที่ค่าดัชนีความเสี่ยง (RPN: Risk Priority Number) ≥25 โดยสูงที่สุดที่ RPN=40 ในความเสี่ยงเรื่องการสัมผัสอุณหภูมิไม่เหมาะสมของวัคซีน multiple dose ในระหว่างการให้บริการ และการไม่ตรวจสอบวัคซีนก่อนการให้บริการ หลังการวิเคราะห์หาสาเหตุ และวางมาตรการร่วมกันแล้ว พบว่าค่า RPN ลดลง ทั้ง 8 รายการ สรุป: การจัดการความเสี่ยงกระบวนการลูกโซ่ความเย็นด้วยเครื่องมือ FMEA เป็นการจัดการความเสี่ยงเชิงรุก ที่ช่วยป้องกันหรือลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในกระบวนการทำงานได้  
     คำสำคัญ ความเย็นวัคซีน, FMEA, การจัดการความเสี่ยง, cold chain 
ผู้เขียน
575150017-3 นาง พรรณวิภา ลาภจิตร [ผู้เขียนหลัก]
คณะเภสัชศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0