2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การประเมินความสามารถของเอเอชพลัสและกัตตาโฟล2 ในการป้องกันการรั่วซึมของแบคทีเรียจากตัวฟันในห้องปฏิบัติการ Evaluation of sealing ability using AH Plus and GuttaFlow2 in preventing bacterial coronal leakage: an in vitro study.  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 14 มิถุนายน 2562 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 48 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร 
     สถานที่จัดประชุม ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร 
     จังหวัด/รัฐ นครปฐม 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 13 มิถุนายน 2562 
     ถึง 14 มิถุนายน 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2562 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ S530-537 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การประเมินความสามารถของเอเอชพลัสและกัตตาโฟล2 ในการป้องกันการรั่วซึมของแบคทีเรียจากตัวฟันในห้องปฏิบัติการ Evaluation of sealing ability using AH Plus and GuttaFlow2 in preventing bacterial coronal leakage: an in vitro study. พรหมธิดา พรหมจารย์1 และ อังสนา ใจแน่น2 Promthida Promjarn1 and Angsana Jainaen2 บทคัดย่อ การศึกษาในห้องปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการป้องกันการรั่วซึมของแบคทีเรีย ระหว่าง ซีลเลอร์กัตตาโฟล2กับเอเอชพลัส ในฟันกรามน้อยแท้ล่าง จำนวน 40 ซี่ โดยแบ่งแบบสุ่มออกเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มละ 15 ซี่ กลุ่มควบคุมจำนวน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุมบวก และกลุ่มควบคุมลบ กลุ่มละ 5 ซี่ ทำการอุดคลองรากฟันด้วยวิธีแมทซ์เทปเปอร์ซิงเกิลโคนด้วยกัตตาเปอร์ชาร่วมกับซีลเลอร์ ดังนี้ กลุ่มที่ 1 กัตตาเปอร์ชาร่วมกับเอเอชพลัส กลุ่มที่ 2 กัตตาเปอร์ชาร่วมกับกัตตาโฟล2 การศึกษานี้ได้ใช้แบบจำลองการรั่วซึมของแบคทีเรียจากแบบจำลองสองห้อง โดยใช้แบคทีเรีย เอ็นเทอโรค็อคคัส ฟีคอลลิส ATCC 29212 ทำการติดตามผลการรั่วซึมทุกวัน เป็นระยะเวลา 60 วัน บันทึกค่าเฉลี่ยจำนวนตัวอย่างที่เกิดการรั่วซึมและจำนวนวันที่ต้านทานต่อการรั่วซึม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบ Mann-Whitney U test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ผลการศึกษาพบว่า ความสามารถในการป้องกันการรั่วซึมของแบคทีเรียของซีลเลอร์กัตตาโฟล2อยู่ที่ 47.93±13.58 วันและเอเอชพลัสอยู่ที่ 49.13±16.53 วัน โดยไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ภายใต้ข้อจำกัดของการศึกษานี้ สรุปได้ว่า เมื่อใช้วิธีการอุดคลองรากฟันแบบแมทซ์เทปเปอร์ซิงเกิลโคน ซีลเลอร์กัตตาโฟล2และ เอเอชพลัสมีความสามารถในการป้องกันการรั่วซึมของแบคทีเรียไม่แตกต่างกัน คำสำคัญ : การรั่วซึมของแบคทีเรีย, ซีลเลอร์อุดคลองรากฟัน, เอเอชพลัส, กัตตาโฟล2 Abstract The purpose of this vitro study was to evaluate the sealing ability of root canals obturated with two root canal sealers in preventing bacterial leakage. Forty permanent lower premolars were instrumented and randomly divied into 2 groups of 15 teeth each and 2 groups as positive and negative control (5 teeth each). The root canal were obturated using a match-taper single cone technique; Group 1 gutta percha with AH Plus, Group 2 gutta percha with GuttaFlow2. A dual-chamber leakage model using Enterococcus faecalis ATCC 29212 as a microbial marker was used for leakage evaluation. The teeth were observed for bacterial leakage daily for 60 days. Recorded the mean of leaked specimens and amount of days in preventing bacterial leakage. With the Mann-Whitney U test for comparing pair of groups at 95% confidence level. Ability of GuttaFlow2 in preventing bacterial leakage is 47.93±13.58 days and AH Plus is 49.13±16.53 days, there was no statistical difference between AH Plus and GuttaFlow2 (p>0.05) for bacterial leakage. The conclusion from this experiment was using of GuttaFlow2 and AH Plus as sealer with a match-taper single cone showed a similar sealing ability when bacterial coronal leakage was studied. Keyword : bacterial leakage, root canal sealer, AH Plus, GuttaFlow2  
ผู้เขียน
595130011-9 น.ส. พรหมธิดา พรหมจารย์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะทันตแพทยศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 11