2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ แนวคิด ทฤษฎี และพัฒนาการการวางแผนภาค จากยุคเริ่มต้นการรวมกลุ่มสู่ยุคหลังฟื้นฟูภาคนิยมใหม่  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 6 ธันวาคม 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร การวางแผนภาคและเมือง 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร Urban and Regional Planning คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม - ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2560 
     หน้า  
     บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และพัฒนาการของการวางแผนภาคในอเมริกา เพื่อวิเคราะห์แนวทาง ความสนใจ และกรอบการทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและการวางแผนภาค การแสดงช่องว่างทางความคิดและการปฏิบัติ ที่มีการซ้อนทับและขัดแย้งในกระบวนการรวมกลุ่ม ที่สอดคล้องความนิยมในยุคปัจจุบัน โดยการศึกษาเน้นการทบทวนวรรณกรรม การสืบค้นเอกสารตำรา และหนังสือที่เกี่ยวข้อง มีการเชื่อมโยงแนวคิด ทฤษฎี และประเด็นการพัฒนาแต่ละช่วงเวลา (Time line) ซึ่งสามารถแบ่งช่วงเวลาที่สำคัญได้ดังนี้ 1. ช่วงแรกเริ่มมีการวางแผน 2. ช่วงเริ่มต้นมีการทำงานวางแผนภาค 3. ช่วงที่มีการพัฒนาภาคตามแนวคิดภาคนิยมเก่า 4. ช่วงที่มีการพัฒนาโดยลดความสำคัญของการวางแผนภาคและละทิ้งแนวคิดภาคนิยม 5. ช่วงฟื้นฟูการวางแผนภาคและการพัฒนาสู่แนวความคิดภาคนิยมใหม่ โดยการศึกษาครั้งนี้ค้นพบว่า ความสำคัญของการบูรณาการมิติทางกายภาพ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมไว้ด้วยกัน พร้อมๆกับการประยุกต์องค์ความรู้ ศาสตร์การพัฒนาแต่ละแขนง จะช่วยยกระดับความเกี่ยวข้องและความเชื่อมโยงการทำงาน ให้เกิดกระบวนการรวมกลุ่ม ที่ถือว่าเป็นเป้าหมายและแกนหลักในการทำงานวางแผนพัฒนาภาคอย่างมีลำดับขั้นที่มั่นคง การแสดงการเปรียบเทียบประเด็น ช่องว่าง การเชื่อมโยงและการต่อยอดการทำงานในระดับต่างๆที่เป็นความนิยมในปัจจุบัน นำไปสู่การให้ความสนใจเรื่องของการประสานผลประโยชน์ การบริหารจัดการของหน่วยงานระดับนโยบายจากด้านบน (Top down) กับกลุ่มการต่อรองอำนาจขั้นพื้นฐานของประชาชน ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมที่อยู่ในระดับท้องถิ่น (Bottom up) ให้ความชัดเจนเรื่องการต่อสู้เพื่อหลีกหนีความขัดแย้งและการลดความเหลื่อมล้ำ ด้วยระบบและความสัมพันธ์ที่สลับซับซ้อนมากขึ้น โดยผู้ศึกษาสรุปได้ว่า แม้ว่าความเท่าเทียมจะเกิดขึ้นด้วยกระบวนการรวมกลุ่มการวางแผนพัฒนาก็ตาม แต่ความเหลื่อมล้ำและรูปแบบความขัดแย้งยังคงอยู่และเปลี่ยนรูปตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ควบคู่กับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีเงื่อนไข เป็นความสำคัญและความท้าทายในอนาคต ต่อการกำหนดขอบเขตงานวิจัยและลงรายละเอียดถึงปัจจัย ความสัมพันธ์ของตัวทำการในกระบวนการรวมกลุ่ม ปัจจัยที่ก่อให้เกิดรูปแบบและการเปลี่ยนแปลงขนาดของการรวมกลุ่มได้ 
     คำสำคัญ การวางแผนภาค, การรวมกลุ่ม, ภาคนิยมใหม่, การมีส่วนร่วม 
ผู้เขียน
587200002-4 นาย เดชชาติ นิยมตรง [ผู้เขียนหลัก]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0