2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ Waste from Economic Freshwater Fishes Quantity and Quality for Aquaponic System 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 24 ธันวาคม 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 13 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม – ธันวาคม 2563
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษาปริมาณ และคุณภาพ ของเสียจากปลาน้ำจืดเศรษฐกิจ ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดอำนาจเจริญ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design , CRD) แบ่งเป็น 4 ชุดการทดลอง ๆ ละ 4 ซ้ำ ได้แด่ ชุดควบคุม ไม่เลี้ยงปลา ชุดการทดลองที่ 1 ตะเพียนขาว ชุดการทดลองที่ 2 หมอไทยแปลงเพศ ชุดการทดลองที่ 3 ดุกลูกผสม และชุดการทดลองที่ 4 ปลานิล ปล่อยปลาที่มีขนาดใกล้เคียงกันคือ 3.55±0.61, 3.53±0.52, 3.47±0.51 และ3.53±0.67 กรัม ตามลำดับ เลี้ยงนาน 60 วัน พบว่า ชุดการทดลองที่ 3 ปลาดุกลูกผสมมีการเจริญเติบโต และน้ำหนักรวมมาก (20.88±13.78 กรัม และ1,905.01 กรัม) ที่สุดรองลงมาชุดการทดลองที่ 4 ปลานิล (15.76±6.19 กรัม และ1,540.70 กรัม) ชุดการทดลองที่ 2 หมอไทยแปลงเพศ (13.60±4.41กรัม และ 1,254.43 กรัม) และชุดการทดลองที่ 1 ปลาตะเพียนขาว (5.62±1.23 กรัม และ 415.37 กรัม) น้อยที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) ชุดการทดลองที่ 3 ปลาดุกลูกผสม การกินอาหาร FCR และปริมาณมูลทั้งหมด ตามลำดับ ดี (1,923.76 กรัม, 1.0 และ 206.01 กรัมตามลำดับ) ที่สุดรองลงมาคือชุดการทดลองที่ 4 ปลานิล (1,464.67 กรัม, 1.0 และ 170.22 กรัม ตามลำดับ) ชุดการทดลองที่ 2 หมอไทยแปลงเพศ (1,424.59 กรัม, 1.1 และ157.68 กรัมตามลำดับ) และชุดการทดลองที่ 1 ตะเพียนขาว (543 กรัม, 1.3 และ 61.79 กรัมตามลำดับ) น้อยที่สุด ค่าปริมาณแอมโมเนียรวม ไนไตรท์ และไนเตรทน้ำ ตามลำดับ พบว่า ชุดการทดลองที่ 4 ปลานิล และ 2 หมอไทยแปลงเพศ ตามลำดับ มีปริมาณของแอมโมเนียรวม ไนไตรท์ และไนเตรทน้ำ ตามลำดับ (4.473, 0.510, 0.0102 และ 3.634, 0.758, 0.0130 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ) ที่ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับชุดการทดลองที่ 3 ปลาดุกลูกผสม (3.513, 0.342, 0.0039 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ) และชุดการทดลองที่ 1 ปลาตะเพียนขาว (2.259 : 0.515 : 0.0121 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ ปริมาณธาตุอาหารในน้ำ N:P:K ตามลำดับ พบว่า ชุดการทดลองที่ 3 ปลาดุกลูกผสม มีปริมาณของ N:P:K สูง (33.60, 0.937, 11.99 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ) ที่สุด รองลงมาคือชุดการทดลองที่ 4 ปลานิล (16.05, 0.497, 9.52 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ) ชุดการทดลองที่ 2 หมอไทยแปลงเพศ (10.50, 0.473, 10.02 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ) และชุดการทดลองที่ 1 ปลาตะเพียนขาว (6.86, 0.116, 5.51 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ) มีน้อยที่สุด ชุดการทดลองที่ 2, 3 และ 4 ตามลำดับ หมอไทยแปลงเพศ ดุกลูกผสม และ นิล ตามลำดับ มีอัตรารอดตายเท่ากับ 100±00, 98.91±02.17 และ 100±00 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ แตกต่างจากชุดการทดลองที่ 1 ปลาตะเพียนขาว (72.83±12.98 เปอร์เซ็นต์) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) 
     คำสำคัญ ปริมาณ คุณภาพ ของเสียปลาน้ำจืดเศรษฐกิจ 
ผู้เขียน
567030021-4 นาย สมบัติ สิงห์สี [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0