2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การศึกษาประสิทธิภาพทางคลินิกของแคปซูลผงแห้งจากผลมะระขี้นกต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือด ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูงต่อเบาหวาน : ผลการศึกษาเบื้องต้น 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 7 สิงหาคม 2562 
การประชุม
     ชื่อการประชุม Innovation and Disruptive Technology in Medical Education and Services 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 7 สิงหาคม 2562 
     ถึง 9 สิงหาคม 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2562 
     Issue (เล่มที่) 35 
     หน้าที่พิมพ์ 95 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การศึกษาประสิทธิภาพทางคลินิกของแคปซูลผงแห้งจากผลมะระขี้นกต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือด ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูงต่อเบาหวาน : ผลการศึกษาเบื้องต้น Efficiency of Dry Powder Capsule from Momordica Charantia L. Fruits in Prediabetic Patients: preliminary results พลอยไพลิน อินทร์เหล่าใหญ่ 1, สมชาย สุริยะไกร1, ศุภชัย ติยวรนันท์2, วัชรพงศ์ วงษาเวียง3 ภาควิชาเภสัชกรรมคลินิก1, ภาควิชาเภสัชเวทและพิษวิทยา2, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ภาควิชาออร์โธปิดิกส์3, โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น. บทคัดย่อ หลักการและวัตถุประสงค์: การศึกษาครั้งนี้ต้องการศึกษาประสิทธิภาพและอาการข้างเคียงของ แคปซูลผงแห้งจากผลมะระขี้นก ที่ยังไม่เคยมีการศึกษามาก่อนในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูงต่อเบาหวาน วิธีการศึกษา: การวิจัยแบบ Randomized Controlled Trials ในกลุ่มเสี่ยงสูงต่อเบาหวานที่ระดับ Fasting Plasma Glucose (FPG) ยังไม่ถึงเป้าหมาย จำนวน 72 คน สุ่มเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มควบคุมและกลุ่มอาสาสมัครที่ได้รับแคปซูลผงแห้งจากผลมะระขี้นก ติดตามเป็นระยะเวลา 16 สัปดาห์เพื่อศึกษาค่า FPG, HbA1c, Scr และ ALT ผลการศึกษา: ค่า FPG ของกลุ่มอาสาสมัคร (108.86 ± 6.16, 108.36±15.26 ก่อนและหลังงานวิจัยตามลำดับ) และกลุ่มควบคุม (108.36±8.21, 107.13±23.36 ก่อนและหลังงานวิจัยตามลำดับ) ไม่แตกต่างกัน ค่า HbA1c ของกลุ่มอาสาสมัคร (6.07±0.82, 6.25±0.62 ก่อนและหลังงานวิจัยตามลำดับ) และกลุ่มควบคุม (5.97±0.72, 6.20±0.86 ก่อนและหลังงานวิจัยตามลำดับ) ทั้งสองกลุ่มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p<.05) ค่า eGFR (97.10±14.65, 101.99±14.01 ก่อนและหลังงานวิจัยตามลำดับ) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p<.05) ในกลุ่มอาสาสมัคร แต่ค่า ALT ไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนกลุ่มควบคุมไม่เปลี่ยนแปลงค่า eGFR แต่ค่า ALT (19.62±9.01, 22.74±11.65 ก่อนและหลังงานวิจัยตามลำดับ) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p<.05) สรุปผลการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้ยังไม่พบว่า แคปซูลผงแห้งจากผลมะระขี้นกมีประสิทธิภาพในการลดระดับน้ำตาลในเลือด FPG และ HbA1c ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูงต่อเบาหวาน คำสำคัญ: Momordica Charantia, Bitter melon, Diabetes mellitus, มะระขี้นก, ระดับน้ำตาลในเลือด  
ผู้เขียน
585150063-7 น.ส. พลอยไพลิน อินทร์เหล่าใหญ่ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเภสัชศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0