2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title ผลของการใช้สารสกัดขมิ้นชันรูปแบบเจลและแสงสีฟ้าในกระบวนการบําบัด โฟโตไดนามิกร่วมกับ การรักษาโรคปริทันต์อักเสบเรื้อรังแบบอนุรักษ์ต่อการต้านเชื้อพรีโวเทลลา อินเตอร์มีเดีย และเชื้อฟิวโซแบคทีเรียม นิวคลีเอตัม 
Date of Distribution 7 December 2019 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 15 “บูรณาการงานวิจัย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยนวัตกรรม” 
     Organiser สํานักวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น 
     Conference Place อาคารคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น 
     Province/State ปทุมธานี 
     Conference Date 7 December 2019 
     To 8 December 2019 
Proceeding Paper
     Volume 15 
     Issue
     Page 12-22 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract โรคปริทันต์อักเสบเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียก่อโรค ส่งผลให้เกิดการทำลายอวัยวะปริทันต์ การรักษาโรคปริทันต์แบบอนุรักษ์ คือการขูดหินน้ำลายและเกลารากฟัน ซึ่งมีข้อจำกัดในการรักษาบริเวณร่องลึกปริทันต์ อีกทั้งไม่สามารถกำจัดเชื้อก่อโรคที่แทรกตัวเข้าไปในชั้นเนื้อเยื่อเหงือกได้ ในปัจจุบันได้มีการนำกระบวนการบำบัดโฟโตไดนามิกมาใช้เพื่อกําจัดเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในร่องเหงือกร่วมกับการรักษาแบบอนุรักษ์ การศึกษานี้ทำเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของการรักษาด้วยกระบวนการบำบัดโฟโตไดนามิกในการรักษาโรคปริทันต์ โดยศึกษาในอาสาสมัคร 5 คน ที่เป็นโรคปริทันต์อักเสบและมีร่องลึกปริทันต์ ≥ 4 มิลลิเมตร อย่างน้อย 2 ตำแหน่ง ในฟันหลังบนทั้ง 2 ด้าน กลุ่มควบคุม คือ กลุ่มที่ได้รับการรักษาโรคปริทันต์แบบอนุรักษ์ และกลุ่มทดลอง คือ กลุ่มที่ได้รับการรักษาโรคปริทันต์แบบอนุรักษ์ร่วมกับกระบวนการบำบัด โฟโตไดนามิกที่มีขมิ้นชันรูปแบบเจลความเข้มข้น 25 ไมโครกรัมต่อมิลลิกรัม กระตุ้นด้วยแสงสีฟ้าจากเครื่องฉายแสงทางทันตกรรมที่ค่าพลังงาน 16.8 จูลต่อตารางเซนติเมตร เป็นเวลา 120 วินาที ติดตามผลการรักษาในสัปดาห์ที่ 1 2 4 และ 6 หลังการรักษา โดยวัดค่าทางคลินิก(ความลึกของร่องลึกปริทันต์ ระดับการยึดเกาะอวัยวะปริทันต์ ค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์ และดัชนีการเลือดออกของเหงือก) และวัดปริมาณเชื้อแบคทีเรีย F. nucleatum และ P. intermedia ด้วยวิธี real time PCR เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ผลการศึกษาพบว่าเมื่อสิ้นสุดการศึกษาไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ของการรักษาด้วยกระบวนการบำบัดโฟโตไดนามิกในอาสาสมัครกลุ่มทดลอง ค่าเฉลี่ยปริมาณของเชื้อแบคทีเรียหลังการรักษาในทุก ๆ ช่วงเวลามีปริมาณน้อยกว่าก่อนการรักษา ส่วนค่าทางคลินิกพบว่ามีเพียงกลุ่มทดลองที่มีค่าร่องลึกปริทันต์ ระดับการยึดเกาะอวัยวะปริทันต์ และค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์ ในสัปดาห์ที่ 1 และ 2 หลังการรักษาของกลุ่มทดลองลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับก่อนรักษา สรุปว่าการขูดหินน้ำลายและเกลารากฟันร่วมกับกระบวนการบำบัดโฟโตไดนามิกสามารถลดจำนวนเชื้อแบคทีเรียในร่องเหงือกได้ดีกว่าการขูดหินน้ำลายและเกลารากฟันเพียงอย่างเดียว  
Author
605130037-2 Miss WEENA RINSATHORN [Main Author]
Dentistry Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 11