2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การย่อยสลายสีย้อมรีแอคทีฟเรด 120 บนตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสง Fe-N-TiO2 โดยการดูดซับและการเกิดปฏิกิริยาภายใต้การฉายแสงวิซิเบิล 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 27 มกราคม 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ. 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 13 
     ฉบับที่  
     เดือน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า  
     บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของตัวเร่งปฏิกิริยาไนโตรเจนไททาเนียมไดออกไซด์โดยการเจือเหล็ก (Fe-N-TiO2) ต่อประสิทธิภาพในการย่อยสลายสีย้อมประเภทรีแอคทีฟเรด 120 ภายใต้แสงวิซิเบิล ตัวเร่งปฏิกิริยา Fe-N-TiO2 และ N-TiO2 ถูกสังเคราะห์ด้วยวิธีไฮโดรเทอร์มอล และไม่ผ่านกระบวนการแคลไซน์ ตัวเร่งปฏิกิริยาที่ศึกษาเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพ คือ ตัวเร่งปฏิกิริยาไททาเนียมไดออกไซด์ที่มีการเจือเหล็กร้อยละ 1 โดยน้ำหนัก (1.0%Fe-N-TiO2) ตัวเร่งปฏิกิริยาที่ไม่มีการเจือเหล็ก (N-TiO2) และตัวเร่งปฏิกิริยาทางการค้า (P25) คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของตัวเร่งปฏิกิริยา ได้แก่ โครงสร้างผลึก ขนาดผลึก ลักษณะสัณฐานวิทยา พื้นที่ผิวจำเพาะ สถานะออกซิเดชันของธาตุ ช่องว่างพลังงาน และค่าความเป็นแม่เหล็ก ได้ทำการวิเคราะห์ ด้วยเทคนิค X-ray diffraction (XRD) Field emission scanning electron microscope (FESEM) N2-adsorption-desorption X-ray photoemission spectroscopy (XPS) UV-vis diffuse reflectance spectroscopy (UV-DRs) และ Versalab (VSM) ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่าตัวเร่งปฏิกิริยา N-TiO2 และ P25 พบเฟสอนาเทสเป็นหลัก และเฟสรูไทล์พบเพียงเล็กน้อย ตัวเร่งปฏิกิริยา 1.0%Fe-N-TiO2 พบว่าความเป็นผลึกของเฟสอนาเทสลดลงและไม่พบเฟสรูไทล์ การเจือเหล็กทำให้ตัวเร่งปฏิกิริยามีขนาดผลึกขนาดเล็กประมาณ 10-11 นาโนเมตร ลักษณะสัณฐานวิทยาของตัวเร่งปฏิกิริยาที่สังเคราะห์ด้วยวิธีไฮโดรเทอร์มอล มีรูปร่างค่อนข้างเป็นทรงกลมที่มีขนาดอนุภาคนาโนเมตร และเมื่อมีการเจือเหล็กขนาดของอนุภาคเล็กลง พื้นที่ผิวจำเพาะของตัวเร่งปฏิกิริยาที่คำนวณโดยสมการของ Brunauer–Emmett–Teller (BET) พบว่าตัวเร่งปฏิกิริยา 1.0%Fe-N-TiO2 มีพื้นที่ผิวจำเพาะสูงสุดโดยมีค่าประมาณ 115 ตารางเมตรต่อกรัม สถานะออกซิเดชันของเหล็กในตัวเร่งปฏิกิริยา 1.0%Fe-N-TiO2 มีเลขออกซิเดชันเป็น Fe3+ ซึ่งการเจือเหล็กสามารถลดช่องว่างพลังงานจาก 2.94 อิเล็กตรอนโวลต์ (N-TiO2) เป็น 2.70 อิเล็กตรอนโวลต์ และค่าความเป็นแม่เหล็กของตัวเร่งปฏิกิริยา 1.0%Fe-N-TiO2 มีค่าความเป็นแม่เหล็กประมาณ 0.011 emuต่อกรัม ผลของการกำจัดสีย้อมรีแอคทีฟเรด 120 โดยการดูดซับและการเกิดปฏิกิริยาภายใต้แสงวิซิเบิล ผลพบว่าประสิทธิภาพการจำกัดสีย้อมของตัวเร่งปฏิกิริยา 1.0%Fe-N-TiO2 มีค่าสูงถึงร้อยละ 99 และมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเทียบกับตัวเร่งปฏิกิริยา N-TiO2 และ P25 สามารถสรุปได้ว่าตัวเร่งปฏิกิริยาไนโตรเจนไททาเนียมไดออกไซด์ที่ได้รับการปรับปรุงโดยการเจือเหล็กสามารถย่อยสลายมลพิษได้จริงภายใต้แสงวิซิเบิล 
     คำสำคัญ การเจือด้วยโลหะ การเจือด้วยอโลหะ การเจือร่วมกัน ไฮโดรเทอร์มอล ไททาเนียมไดออกไซด์ สีย้อมรีแอคทีฟเรด 120 
ผู้เขียน
605040010-3 น.ส. อนุธิดา พวงปัญญา [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0