2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากน้ำมันชีวภาพโดยกระบวนการเผาแบบไร้อากาศบนตัวเร่งปฏิกิริยาโดโลไมท์ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 16 มกราคม 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 27 
     ฉบับที่
     เดือน พฤษภาคม-สิงหาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า  
     บทคัดย่อ งานวิจัยนี้เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากน้ำมันชีวภาพ (น้ำมันปาล์ม (PO) และน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว (WCO)) ซึ่งการทดลองนี้ทำในเครื่องปฏิกรณ์แบบแพ็คเบดที่อุณหภูมิ 450 500 และ 550°C ภายใต้ความดันบรรยากาศ WHSV = 0.5 h-1 โดยตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใช้ในการทำปฏิกิริยาจะทำการอัดขึ้นรูปเป็นเม็ดและเผาที่ 600°C เป็นเวลา 4 ชั่วโมง วิเคราะห์คุณลักษณะทางกายภาพและเคมีของตัวเร่งปฏิกิริยาโดยการวิเคราะห์ด้วย X-ray fluorescence spectroscopy (XRF) X-ray diffraction (XRD) N2 adsorption-desorption และ Field emission scanning mlectron Microscope (FESEM) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของตัวเร่งปฏิกิริยาประกอบด้วย CaO SiO2 และ Fe2O3 นอกจากนั้นแล้วลักษณะโครงสร้างผลึกของตัวเร่งปฏิกิริยาก่อนการเผาพบเฟสของ Ca(OH)2 CaCO3 CaO SiO2 และหลังจากการเผาพบว่ามีเฟสของ Ca(OH)2 CaO SiO2 ซึ่งผลหลังจากการเผาตัวเร่งปฏิกิริยาทำให้พื้นที่ผิวลดลงเนื่องจากการเปลี่ยนเฟสหรือการสลายตัวทางความร้อนของตัวเร่งปฏิกิริยาในรูปออกไซด์ สัณฐานวิทยาของตัวเร่งปฏิกิริยาโดโลไมท์ก่อนการเผาประกอบด้วยอนุภาคขนาดใหญ่และมีลักษณะราบเรียบซึ่งแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเปรียบเทียบกับตัวเร่งปฏิกิริยาโดโลไมท์หลังการเผาซึ่งมีลักษณะอนุภาคเล็กลงและขรุขระ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการทำปฏิกิริยาพบว่าน้ำมันปาล์มและน้ำมันพืชที่ใช้แล้วมีค่าปริมาตรสูงสุดเท่ากับ 90% นอกจากนั้นแล้วการทำปฏิกิริยาของน้ำมันปาล์มที่อุณหภูมิ 450°C สามารถผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพได้สูงสุด ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่ได้ของ น้ำมันพืชที่ใช้แล้วที่ทำปฏิกิริยาที่อุณหภูมิ 550°C สามารถผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพได้สูงที่สุด ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการทำปฏิกิริยามากลั่นตามมาตรฐาน ASTM D86 แยกได้เป็น แก๊สโซลีนและดีเซล ทำการวิเคราะห์คุณสมบัติของน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ ได้แก่ ค่าความหนืด ค่าความร้อน ซึ่งค่าความร้อนและค่าความหนืดที่ได้มีค่าผ่านตามมาตรฐาน ดังนั้นกระบวนการนี้สามารถผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ  
     คำสำคัญ กระบวนการต่อเนื่อง น้ำมันปาล์ม น้ำมันพืชที่ใช้แล้ว ตัวเร่งปฏิกิริยาโดโลไมท์  
ผู้เขียน
605040043-8 น.ส. สว่างทิพย์ ผลาเลิศ [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0