2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article ความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างจังหวัดชายแดนที่ติดประเทศเพื่อนบ้านตอนใต้ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 
Date of Acceptance 20 January 2020 
Journal
     Title of Journal พืชญทรรศน์ 
     Standard TCI 
     Institute of Journal บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 
     ISBN/ISSN ISSN 1905-5811 
     Volume 15 
     Issue
     Month พฤษภาคม-สิงหาคม
     Year of Publication 2020 
     Page  
     Abstract บทคัดย่อ ความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างจังหวัดชายแดนที่ติดประเทศเพื่อนบ้านตอนใต้ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาโครงสร้างการผลิตของพื้นที่ศึกษาตามแนวจังหวัดชายแดนที่ติดประเทศเพื่อนบ้านตอนใต้ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2) เพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์กิจกรรมการผลิตที่มีผลต่อเศรษฐกิจของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โดยใช้ตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตของแต่ละพื้นที่ที่ศึกษา ประกอบด้วย จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี มาพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ มีขั้นตอนการศึกษา 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 เตรียมตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตขนาด 58 กิจกรรมการผลิตของพื้นที่ศึกษา โดยวิธีการตัดและการรวมกลุ่มสาขาเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับโครงสร้างเศรษฐกิจพื้นที่ศึกษา ขั้นตอนที่ 2 คำนวณค่าสัดส่วนแหล่งที่ตั้ง ด้วยวิธี Simple Location Quotient (SLQ) เพื่อใช้ประมาณค่าสัมประสิทธิ์ ขั้นตอนที่ 3 หาค่าสัมประสิทธิ์การผลิตทางตรงและทางอ้อมของพื้นที่ศึกษาด้วยวิธี RAS Method โดยนำตารางจากขั้นตอนที่ 1 ปรับด้วยค่า SLQ จากขั้นตอนที่ 2 จะได้ค่าสัมประสิทธิ์ของพื้นที่ศึกษา ขั้นตอนที่ 4 นำเอาตารางสัมประสิทธิ์การผลิตของพื้นที่ศึกษาไปหาค่าผลการเชื่อมโยงไปข้างหน้าและผลการเชื่อมโยงไปข้างหลังและจัดลำดับความสำคัญของสาขาการผลิตของแต่ละสาขา ผลการศึกษาพบว่า 1) แต่ละจังหวัดมีโครงสร้างการผลิตที่คล้ายคลึงกัน โดยกิจกรรมการผลิตที่มีมูลค่าการผลิตมากที่สุดในแต่ละจังหวัด ได้แก่ 1) การบริการ 2) การเกษตร/การค้า 3) การเงินและการประกันภัย ตามลำดับ ขณะที่กิจกรรมการผลิตที่ไม่มีมูลค่าการผลิต ได้แก่ การผลิตผลิตภัณฑ์จากยาสูบ การผลิตอุปกรณ์ขนส่งอื่นๆ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโรงกลั่นปิโตรเลียม เป็นต้น 2) กิจกรรมการผลิตที่มีผลต่อเศรษฐกิจของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างมากที่สุด พิจารณาจากค่าตัวทวีคูณความเชื่อมโยงไปข้างหน้า ค่าทวีคูณความเชื่อมโยงไปข้างหลัง และมูลค่าการผลิตที่ผลิตได้ในแต่ละพื้นที่ พบว่ากิจกรรมการผลิตที่เหมาะสมแก่การส่งเสริมในพื้นที่ ได้แก่ 1) การเกษตร (ทำนา/ปศุสัตว์/ปลูกอ้อย-มันสำปะหลัง) 2) การเงินและการประกันภัย 3 ) การบริการ  
     Keyword ความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ, ตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต, ค่าสัดส่วนแหล่งที่ตั้ง, ความเชื่อมโยงไปข้างหน้า, ความเชื่อมโยงไปข้างหลัง 
Author
595320007-2 Mr. PHATTARAT ATTAPAIBOON [Main Author]
Economics Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 5