2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title การพัฒนาและศึกษาลักษณะการตอบของแบบวัดจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ ในรูปแบบมาตรวัดที่ต่างกัน DEVELOPMENT AND RESPONSE STYLE OF DIFFERENT SCALES’ POLARITY MEASUREMENT OF MATHEMATICAL HABITS OF MIND FOR UPPER SECONDARY SCHOOL STUDENTS 
Date of Distribution 13 February 2020 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการ การวัด ประเมินผล และวิจัยสัมพันธ์ แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 28 “บทบาทของการวิจัย วัดผลและประเมินทางการศึกษาในบริบทการเปลี่ยนแปลงสังคมโลก” 
     Organiser คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 
     Conference Place โรงแรมวังจันทน์ ริเวอร์วิว (Wangchan Riverview Hotel) 
     Province/State พิษณุโลก 
     Conference Date 12 February 2020 
     To 14 February 2020 
Proceeding Paper
     Volume 28 
     Issue
     Page 215-234 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract งานวิจัยฉบับนี้มี วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 2. เพื่อศึกษาลักษณะการตอบแต่ละรายการของรูปแบบมาตรวัดที่ต่างกันของแบบวัดจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 122 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดจิตนิสัยคณิตศาสตร์ 2 แบบ คือ 1.แบบวัดจิตนิสัยคณิตศาสตร์ มาตรวัดแบบขั้วเดียว (Unipolar) 2.แบบวัดจิตนิสัยคณิตศาสตร์ มาตรวัดแบบสองขั้ว (Bipolar) ซึ่งแบบวัดทั้ง 2 ฉบับ เป็นมาตรประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ใช้ข้อคำถามเดียวกัน ทั้งหมด 57 ข้อ นำแบบวัดมาตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity Ratio) ของ Lawshe (1975) และตรวจสอบคุณภาพแบบวัดในทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (CTT) และในทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ (IRT) ผลวิจัยพบว่า 1.การพัฒนาแบบวัดจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย มีคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity Ratio) โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ได้ค่า CVR เท่ากับ 1.0 การตรวจสอบคุณภาพด้านค่าอำนาจจำแนก (discrimination) ในทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (CTT) มาตรวัดแบบขั้วเดียวมีค่า 0.09 - 0.74 และมาตรวัดแบบสองขั้วมีค่า 0.16-0.65 ส่วนในทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ (IRT) มาตรวัดแบบขั้วเดียวมีค่า 0.09-2.92 และมาตรวัดแบบสองขั้วมีค่า 0.17-2.02 การตรวจสอบคุณภาพด้านความเที่ยง (Reliability) ด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบาค ซึ่งมาตรวัดแบบขั้วเดียวมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 ซึ่งมีค่าสูงกว่ามาตรวัดแบบสองขั้ว ที่มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.73 2. ลักษณะการตอบแต่ละรายการของรูปแบบมาตรวัดที่ต่างกันของแบบวัดจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย พบว่านักเรียนเลือกรายการคำตอบกระจายทั้ง 5 ระดับ โดยส่วนใหญ่นักเรียนเลือกรายการคำตอบที่ 4 และ 5 และผลการตอบแบบวัดจิตนิสัยคณิตศาสตร์ มาตรวัดแบบขั้วเดียว และมาตรวัดแบบสองขั้ว มีการกระจายผลการตอบที่แตกต่างกัน คำสำคัญ: จิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ /มาตรวัดแบบขั้วเดียว /มาตรวัดแบบสองขั้ว  
Author
615050100-7 Miss MATCHULIN INTARACH [Main Author]
Education Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0