2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผลการตอบตามความปรารถนาของสังคมต่อคุณภาพแบบวัดจริยธรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย THE EFFECT OF A SOCIALLY DESIRABLE RESPONDING ON QUALITY OF INTERNET USAGE ETHICS SCALE FOR GRADE 10-12 STUDENTS  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 13 กุมภาพันธ์ 2563 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การวัดผล ประเมินผล และวิจัยสัมพันธ์ แห่งประเทศไทย ครั้งที่้ 28 “บทบาทของการ วิจัย วัดผลและประเมินทางการศึกษาในบริบทการเปลี่ยนแปลงสังคมโลก” 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิททยาลัยนเรศวร 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมวังจันทน์ ริเวอร์วิว (Wangchan Riverview Hotel) 
     จังหวัด/รัฐ พิษณุโลก 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 12 กุมภาพันธ์ 2563 
     ถึง 14 กุมภาพันธ์ 2563 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 28 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 100 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการตอบและการจัดกลุ่มการตอบตามความปรารถนาของสังคม ผลการตอบแบบวัดจริยธรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายด้วยแบบวัดเชิงสถานการณ์ของกลุ่มผู้สอบที่มีการตอบตามความปรารถนาของสังคมต่างกัน และเปรียบเทียบคุณภาพของแบบวัดจริยธรรมการใช้อินเทอร์เน็ตก่อนและหลังตัดกลุ่มผู้สอบที่มีการตอบตามความปรารถนาของสังคมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2562 จำนวน 710 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดจริยธรรมการใช้อินเทอร์เน็ต (Internet Usage Ethics Scale) โดยเป็นแบบวัดเชิงสถานการณ์ (Situation Scale) จำนวน 40 ข้อ และแบบวัดการตอบตามความปรารถนาของสังคม (Socially Desirable Responding Scale: SDRS) ที่พัฒนาโดยสุกัญญา จันทวาลย์ (2556) จำนวน 40 ข้อ โดยใช้ผลจากแบบวัดการตอบความปรารถนาของสังคมมาจัดกลุ่มผู้ตอบตามความปรารถนาทางสังคม (SDR1 ถึง SDR5) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ การตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity Ratio; CVRi) ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม ประกอบด้วย ค่าความเที่ยงและค่าอำนาจจำแนก และทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ คือ ค่าอำนาจจำแนก ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการตอบและการจัดกลุ่มการตอบตามความปรารถนาของสังคมของผู้สอบ พบว่ากลุ่ม SDR1 และ SDR5 ซึ่งเป็นกลุ่มที่ตอบตามความปรารถนาของสังคมต่ำมากและสูงมาก มีร้อยละ 23.66 และ 7.18 ตามลำดับ และส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม SDR3 ซึ่งเป็นกลุ่มปานกลาง 2. ผลการตอบแบบวัดจริยธรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายด้วยแบบวัดเชิงสถานการณ์ของกลุ่มผู้สอบที่มีการตอบตามความปรารถนาของสังคมต่างกัน 5 กลุ่ม พบว่าคะแนนเฉลี่ยของกลุ่ม SDR1 และ SDR5 ต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยของกลุ่ม SDR2 SDR3 และ SDR4 ตามลำดับ 3. ผลการเปรียบเทียบคุณภาพของแบบวัดจริยธรรมการใช้อินเทอร์เน็ตก่อนและหลังตัด SDR1 และ SDR5 พบว่าความเที่ยงของแบบวัดหลังตัดมีค่าสูงกว่าแบบวัดก่อนตัดกลุ่ม SDR เพียงเล็กน้อยและคุณภาพด้านอำนาจจำแนกของแบบวัดหลังตัดมีค่าต่ำกว่าแบบวัดก่อนตัดกลุ่ม SDR เพียงเล็กน้อย  
ผู้เขียน
615050106-5 น.ส. สุภาวดี สีตามาตร [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0