2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผลของการลดกรดไฮโดรไซยานิคในสูตรอาหารผสมสำเร็จที่ใช้หัวมันสำปะหลังสดเป็นแหล่งพลังงานโดยกระบวนการหมักร่วมกับการเสริมกำมะถันต่อองค์ประกอบทางเคมี และจลศาสตร์การย่อยได้ในกระเพาะรูเมน 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 14 มิถุนายน 2562 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการสัตวศาสตร์แห่งชาติครั้งที่8 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมดวงจิตต์ รีสอร์ท แอน สปา  
     จังหวัด/รัฐ ภูเก็ต 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 12 มิถุนายน 2562 
     ถึง 15 มิถุนายน 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 47 
     Issue (เล่มที่) ฉบับพิเศษ2 
     หน้าที่พิมพ์ 207-214 
     Editors/edition/publisher รศ.ดร. ปิ่น จันจุฬา 
     บทคัดย่อ การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการลดกรดไฮโดรไซยานิคโดยกระบวนการหมักร่วมกับการเสริมกำมะถัน ในสูตรอาหารผสมสำเร็จที่ใช้หัวมันสดเป็นแหล่งพลังงาน ต่อองค์ประกอบทางเคมี และจลศาสตร์การย่อยได้ในกระเพาะรูเมน โดยทำการจัดทรีทเมนต์ทดลองแบบ 4x3 แฟคทอเรียลภายใต้แผนงานทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ซึ่งแบ่งปัจจัยศึกษาเป็น 2 ปัจจัย ได้แก่ 1) ระยะเวลาของการหมักที่แตกต่างกัน 4 ช่วง (0, 7, 14 และ 21 วัน ตามลำดับ) และ 2) ระดับการเสริมกำมะถันที่แตกต่างกัน 3 ระดับ (0, 0.5 และ 1 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ) จากนั้นนำมาวิเคราะห์องค์ประกอบของโภชนะ ปริมาณกรดไฮโดรไซยานิค และทดสอบจลศาสตร์การผลิตแก๊สในกระเพาะรูเมน ผลการทดลอง พบว่า การหมักที่ 14 วัน ร่วมกับการเสริมกำมะถันที่ระดับ 1 เปอร์เซ็นต์ มีผลทำให้ปริมาณ HCN ลดลง (P<0.01) และทำให้ผลผลิตแก๊สค่าสูงสุด เมื่อแยกอิทธิพลของปัจจัยที่ศึกษา พบว่า ระยะเวลาในการหมักที่เพิ่มขึ้นมีผลทำให้องค์ประกอบทางเคมีในส่วนของ โปรตีน เยื่อใย NDF, ADF รวมถึงค่า NH3 ปริมาณผลผลิตแก๊สและการย่อยได้ของวัตถุแห้งและอินทรียวัตถุมีเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ปริมาณ HCN และค่า pH มีค่าลดลง (P<0.05) ส่วนระดับของการเสริมกำมะถันมีผลทำให้ปริมาณเยื่อใย ADF เพิ่มสูงขึ้น (P<0.01) ขณะที่ปริมาณ HCN และค่า pH มีค่าลดลง (P<0.05) ดังนั้นจากผลการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าวิธีการหมักอาหารผสมสำเร็จที่ใช้หัวมันสำปะหลังสดเป็นแหล่งพลังงานร่วมกับการเสริมกำมะถันนั้นสามารถปรับปรุงคุณค่าทางโภชนะของสูตรอาหารและทำให้ค่าการย่อยได้เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงสามารถลดปริมาณกรดไฮโดรไซยานิค คำสำคัญ: กรดไฮโดรไซยานิค, กระบวนการหมัก, กำมะถัน, หัวมันสำปะหลังสด  
ผู้เขียน
605030006-0 นาย อติชาต ทองนำ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0