2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผลของการปรับปรุงฟางข้าวโดยการนึ่งไอน้ำร่วมกับสารละลายแคลเซียมออกไซด์ต่อจลนศาสตร์การผลิตแก๊สและการย่อยสลายของโภชนะ 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 13 มิถุนายน 2562 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการสัตวศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 8 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม ภาควิชาการสัตวศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ภาคีเครือข่ายสัตวศาสตร์แห่งประเทศไทย, สมาคมสัตวบาลแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมดวงจิตต์ รีสอร์ท แอนด์ สปา อำเภอกระทู้ 
     จังหวัด/รัฐ ภูเก็ต 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 12 มิถุนายน 2562 
     ถึง 15 มิถุนายน 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 47 
     Issue (เล่มที่) ฉบับพิเศษ 2 
     หน้าที่พิมพ์ 51 
     Editors/edition/publisher ปชาบดี คงเพ็ชรศักดิ์, อติชาต ทองนำ, วุฒิกร สระแก้ว, ฉลอง วชิราภากร 
     บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการปรับปรุงฟางข้าวด้วยวิธีการนึ่งไอน้ำร่วมกับสารละลายแคลเซียมออกไซด์ ต่อค่าจลนศาสตร์การผลิตแก๊ส ค่าแอมโมเนีย-ไนโตรเจน ค่าการย่อยสลายของวัตถุแห้งและอินทรียวัตถุ โดยใช้เทคนิคผลผลิตแก๊ส วางแผนการทดลองแบบ 3 x 2 แฟคทอเรียลในแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (3x2 factorial experiments in CRD) มีปัจจัยที่ศึกษา 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยแรกเป็นการปรับปรุงโดยใช้กระบวนการนึ่งไอน้ำ (ไม่นึ่งไอน้ำ, นึ่งไอน้ำ 30 นาที, นึ่งไอน้ำ 45 นาที) และปัจจัยที่สองเป็นการปรับปรุงด้วยสารละลายแคลเซียมออกไซด์ (ไม่ปรับปรุง, ปรับปรุงด้วยแคลเซียมออกไซด์ 3 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแห้ง) พบว่า การปรับปรุงฟางข้าวด้วยสารละลายแคลเซียมออกไซด์ร่วมกับการนึ่งไอน้ำมีผลทำให้ปริมาณวัตถุแห้ง เยื่อใย NDF และ ADF มีค่าลดลง (p<0.01) แต่มีปริมาณของเถ้าเพิ่มขึ้น (p<0.01) การนึ่งไอน้ำมีผลทำให้ผลผลิตแก๊สจากส่วนที่ไม่ละลายน้ำ (b) อัตราการผลิตแก๊ส (d) และปริมาณแก๊สสะสมในชั่วโมงที่ 96 มีค่าเพิ่มขึ้น (p<0.05) โดยการปรับปรุงฟางข้าวด้วยแคลเซียมออกไซด์ที่ 3 เปอร์เซ็นต์วัตถุแห้ง ร่วมกับการนึ่งไอน้ำที่ระยะเวลา 30 นาที มีผลทำให้ผลผลิตแก๊สมีค่าสูงที่สุด (p<0.05) แต่ไม่มีผลต่อการย่อยได้ของวัตถุแห้ง อินทรียวัตถุ และปริมาณแอมโมเนีย-ไนโตรเจน ดังนั้นการปรับปรุงฟางข้าวด้วยแคลเซียมออกไซด์ร่วมกับการนึ่งไอน้ำสามารถลดปริมาณเยื่อใย NDF และ ADF เพิ่มผลผลิตแก๊ส และมีแนวโน้มการย่อยได้ที่ดีขึ้น 
ผู้เขียน
605030003-6 น.ส. ปชาบดี คงเพ็ชรศักดิ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0