2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article การศึกษาเทคนิคการนำไจคล้ามาใช้ในการออกแบบพรมประดับตกแต่งภายใน 
Date of Acceptance 9 March 2020 
Journal
     Title of Journal วิจัยการออกแบบแห่งเอเชีย 
     Standard TCI 
     Institute of Journal คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN ISSN:2651-1185 
     Volume
     Issue
     Month มกราคม-เมษายน
     Year of Publication 2020 
     Page online 
     Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวัสดุและคุณสมบัติทางกายภาพเส้นด้ายจากไจคล้า เพื่อศึกษาทดลองกรรมวิธีทางหัตถกรรมในการผลิตเส้นด้ายจากไจคล้า เพื่อศึกษาการย้อมสีธรรมชาติจากเส้นด้ายจากไจคล้า และเพื่อประเมินความ พึงพอใจพรมทอมือประดับตกแต่งจากเส้นด้ายจากไจคล้า โดยผู้วิจัยได้ทำการทดลองแยกเส้นใยจากคล้า แล้วนำเส้นใยที่ได้มาสางและปั่นเป็นเส้นด้ายคล้าด้วยวิธีทางหัตถกรรม จากนั้นจึงนำเส้นด้ายคล้าที่ได้มาทอเป็นผืนพรมโดยใช้กระบวนการทอพรมด้วยเทคนิคแบบผสมคือ การทอกี่ผสมการทอมือ จากผลการศึกษาพบว่า ส่วนของไจคล้าที่ทดลองแยกเส้นใยโดยการต้มและแช่ในสารละลายที่มีความแตกต่างกันนั้น มีผลทำให้สีของเส้นใยมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ความนุ่มของผิวสัมผัสขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการต้ม ปริมาณของเส้นใยที่ได้ไม่มีความแตกต่างกัน โดยส่วนผสมของสารเคมีในการแยกเส้นใยที่สามารถสางเส้นใยได้ง่ายที่สุดคือ การต้มด้วยโซดาไฟหรือโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ด้วยอัตราส่วน 30 g และ เกล็ดสบู่(soap) ต่อ น้ำ 1,500 ml เป็นเวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที โดยใช้คล้าจำนวน 100 g จะได้เส้นใยมีสีครีมอ่อน ผิวสัมผัสอ่อนนุ่ม ปริมาณของเส้นใยที่ได้เท่ากับ 30 g ขนาดเส้นใยเท่ากับ 84.7 ดีเนียร์ ทดสอบตามมาตรฐาน BASED ON ISO 7211/5:1984 (E) SECTION 2, METHOD A แรงดึงขาดมากที่สุดเท่ากับ 2.57 นิวตัน หรือ 262.14 กรัมแรง ทดสอบตามมาตรฐาน ISO 5079 : 1995(E) แล้วนำเส้นใยคล้าที่ได้จากการทดลองผ่านกระบวนการสางเส้นใยจนฟูนุ่ม มาผสมกับเส้นใยฝ้ายในอัตราส่วน 50 : 50 ผ่านกรรมวิธีทางหัตถกรรมในการผลิตเส้นด้าย ด้วยการเข็นเส้นด้ายแบบโบราณ เส้นด้ายคล้าที่ได้มีลักษณะใหญ่และหนา มีผิวสัมผัส ที่ไม่เรียบเนียน มีสีน้ำตาลอ่อนสวยงาม มีความเหนียวพอสมควร โดยแรงดึงขาดมากที่สุดเท่ากับ 8.84 นิวตัน หรือ 901.12 กรัมแรง ทดสอบตามมาตราฐาน ISO 2062 : 1993(E) METHOD B สามารถนำมาใช้ในงานออกแบบพรมประดับตกแต่งได้ และสามารถทอเป็นผืนพรมได้ จากการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มผู้ชื้อที่ชื่นชอบผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ 6 ด้านนั้น ผลการนำเส้นด้ายจากไจคล้ามาใช้ในการออกแบบพรมทอมือประดับตกแต่งด้านความสวยงาม (Aesthetic) ด้านประโยชน์ใช้สอย (Function) ด้านรูปแบบและโครงสร้าง (Structure) ด้านวัสดุ (Material) และด้านการดูแลรักษา (Care) ระดับความพึงพอใจมาก จากคุณสมบัติทางด้านกายภาพดังกล่าว เส้นด้ายคล้าจึงถือเป็นวัสดุจากธรรมชาติที่มีความมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นอีกแนวทางเลือกหนึ่งด้านวัสดุสิ่งทอที่สามารถนำไปต่อยอดพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ต่อไปได้  
     Keyword พรมทอมือ, เส้นใยไจคล้า, เส้นด้ายไจคล้า 
Author
585200016-9 Miss NATENAPA WANNUA [Main Author]
Architecture Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0