2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ อิทธิพลของพื้นที่ปลูกต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของยางพารา สายพันธุ์ RRIM 600 และ RRIT 251 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 24 มกราคม 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม ประชุมวิชาการเกษตร ครั้งที่ 18 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 23 มกราคม 2560 
     ถึง 24 มกราคม 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 45 
     Issue (เล่มที่) ฉบับพิเศษ 1 (2560) 
     หน้าที่พิมพ์ 325-330 
     Editors/edition/publisher ปรเมศ บรรเทิงและณะ/พิเศษ 1/มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบปริมาณผลผลิตยางพาราสายพันธุ์ RRIM600 และ RRIT251 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในพื้นที่ปลูก 6 จังหวัดได้แก่ สกลนคร หนองคาย อุดรธานี เลย บุรีรัมย์ และขอนแก่น ซึ่งพื้นที่ปลูกยางพาราแต่ละพื้นที่ที่ทำการศึกษามีปริมาณน้ำฝนที่แตกต่างกัน โดยจังหวัด สกลนคร (1,704.2 มิลลิเมตร) มีปริมาณน้ำฝนรายปีมากที่สุด รองลงมาคือ หนองคาย (1,540.9 มิลลิเมตร) อุดรธานี (1,262.8 มิลลิเมตร) เลย (1,194.4 มิลลิเมตร) บุรีรัมย์ (1,163.0 มิลลิเมตร) และขอนแก่น (980.6 มิลลิเมตร) ตามลำดับ ทำการคัดเลือกสวนยางพาราสายพันธุ์ RRIM600 และ RRIT251 โดยแต่ละจังหวัดทำการคัดเลือกสวนยางพาราทั้ง 2 สายพันธุ์ๆ ละ 5 สวน (รวมเป็น 60 สวน) อายุเปิดกรีดของยางพาราอยู่ที่ 1-9 ปี เก็บข้อมูลเส้นรอบวงลำต้นที่ระดับความสูงจากพื้นดิน 170 ซม. ความยาวรอยกรีด และปริมาณผลผลิตยางแห้ง พบว่าปริมาณน้ำฝนไม่มีผลต่อเส้น รอบวงลำต้น´และปริมาณผลผลิตยางแห้งของยางพาราทั้ง 2 สายพันธุ์ อย่างไรก็ตามพบว่ายางพาราสายพันธุ์ RRIT251 มีผลผลิตยางแห้งมากกว่า ยางพาราสายพันธุ์ RRIM600 (P<0.01)  
ผู้เขียน
595030070-0 น.ส. วรรณทนีย์ มีลุน [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0