2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ รูปแบบการสอนดนตรีของวงดนตรีลูกทุ่งในโรงเรียนมัธยมศึกษา 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 12 กรกฎาคม 2562 
การประชุม
     ชื่อการประชุม RERU ICET III : Innovative Local Development 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด 
     จังหวัด/รัฐ ร้อยเอ็ด 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 12 กรกฎาคม 2562 
     ถึง 15 กรกฎาคม 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 659 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและองค์ประกอบรูปแบบการสอนดนตรีของวงดนตรีลูกทุ่งในโรงเรียนมัธยมศึกษา ใช้วิธีการวิจัยเชิง คุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลจากเอกสาร และข้อมูลภาคสนามจากกลุ่มตัวอย่าง จาก 4 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนปักธงชัยประชานิรมิต โรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนากา โรงเรียนเทพมิตรศึกษา พบว่า กระบวนการต่างๆของแต่ละวงนั้น เป็นไปตามทฤษฎีรูปแบบที่ระบุถึงองค์ประกอบของรูปแบบที่ดีว่าควรประกอบด้วย คุณสมบัติที่สามารถพิสูจน์คุณภาพได้ (Prediction) มีโครงสร้างที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (Causal Relationship) สามารถช่วยในการสร้างจินตนาการของผู้เรียน (Imagination) ช่วยให้เกิดความคิดรวบยอด (Concept) และความสัมพันธ์ (Interrelations) รวมทั้งช่วยขยายขอบเขตของการแสวงหาความรู้ได้อย่างต่อเนื่อง ต้องมีการวางเป้าหมายของการจัดการเรียนการสอนที่ชัดเจน วางแผนดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมาย มีลำดับขั้นตอน กำหนดเนื้อหา กำหนดองค์ประกอบที่จำเป็นต่อการเรียนการสอน และประยุกต์ใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด การสังเกตและทดสอบระดับความสามารถความสนใจ การใช้แรงจูงใจ การให้โอกาสในการเลือกสิ่งที่ผู้เรียนแต่ละคนถนัด มีการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง มีการดูแลเอาใจใส่ผู้เรียนในระหว่างกิจกรรมการเรียนการสอน แต่จะมีประเด็นเงื่อนไขของสภาพแวดล้อมและบริบททางสังคมของแต่ละแห่ง ที่ส่งผลให้เกิดความแตกต่างในการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบ้าง แต่ผู้สอนสามารวางแผนในการจัดการเรียนการสอนดนตรีลูกทุ่ง ให้เหมาะสมกับบริบทของสังคมและผู้เรียน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนั้น คือ สามารถพัฒนาทักษะทางดนตรีของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี  
ผู้เขียน
587220015-3 นาย จิรานุวัฒน์ ขันธจันทร์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0