2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การพัฒนาความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสะตีมศึกษาร่วมกับการใช้เทคนิคผังกราฟิกในรายวิชาชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 27 มีนาคม 2563 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติครั้งที่ 21 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม อาคารพจน์สารสิน (ออนไลน์) 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 27 มีนาคม 2563 
     ถึง 27 มีนาคม 2563 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 21 
     Issue (เล่มที่) 21 
     หน้าที่พิมพ์ 785-796 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบสะตีมศึกษาร่วมกับการใช้เทคนิคผังกราฟิก โดยให้ผู้เรียนมีระดับคะแนนความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์เฉลี่ยไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มและมีจำนวนผู้เรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป 2) พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงของผู้เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะตีมศึกษาร่วมกับการใช้เทคนิคผังกราฟิก โดยให้ผู้เรียนมีคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มและมีจำนวนผู้เรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสตรีชัยภูมิ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ทั้งหมด 28 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ประกอบด้วย 3 วงจรปฏิบัติการ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ชุด ดังนี้ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยา โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสะตีมศึกษาตามแนวคิดของ Riley (2016) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก จำนวน 9 แผน ใช้เวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 25 ชั่วโมง 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติการวิจัย ได้แก่ (1) แบบบันทึกการจัดการเรียนรู้สำหรับครู (2) แบบสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน (3) แบบวัดความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์ แบบปรนัย จำนวน 20 ข้อ และ (4) แบบสัมภาษณ์ผู้เรียน 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการวิจัย ได้แก่ (1) แบบวัดความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์ แบบอัตนัย จำนวน 5 ข้อ (2) แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง แบบ Two – tier จำนวน 10 ข้อ ผลการพัฒนาความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 16.68 คิดเป็นร้อยละ 83.45 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ 28 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งมีค่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และผลการพัฒนาทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงเฉลี่ยเท่ากับ 40.55 คิดเป็นร้อยละ 84.82 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ 28 คนคิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งมีค่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 
ผู้เขียน
605050198-3 น.ส. จินดารัตน์ เพชรล้ำ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0