2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การเปลี่ยนแปลงทางสถาปัตยกรรมของสิมวัดสุปัฏนารามและอาสนวิหารแม่พระนิรมลเมืองอุบลราชธานี Architectural Changes in Sim of Supattanaram temple and the Cathedral of Mary Immaculate in Ubonratchathani 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 16 เมษายน 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย (Built Environment Inquiry – BEI)  
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN ISSN : 2651-1185 
     ปีที่ 20 
     ฉบับที่
     เดือน 1 พฤษภาคม- 31 สิงหาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า Online 
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ ศาสนาพุทธนิกายธรรมยุตและศาสนาคริสต์เผยแผ่ในเมืองอุบลราชธานีช่วง พ.ศ.2394-2473 ศูนย์กลางการเผยแพร่ของทั้งสองศาสนามีที่ตั้งในตัวเมืองอุบลราชธานีที่ไม่ห่างกันมากนัก อาสนวิหารแม่พระนิรมลมีการปรับเปลี่ยนสร้างใหม่ก่อนที่สิมวัดสุปัฏนารามหลังใหม่จะทำการก่อสร้างหลายปีทั้งนี้การตรวจสอบการออกแบบทางสถาปัตยกรรมและความหมายขององค์ประกอบอาคาร จะเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เข้าใจทั้งตัวสถาปัตยกรรมและบริบทมากขึ้น บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของสิมของวัดสุปัฏนารามวรวิหาร และอาสนวิหารแม่พระนิรมลในบริบททางประวัติศาสตร์เมืองอุบลราชธานี โดยการอธิบายผ่านการศึกษาตัวสถาปัตยกรรม องค์ประกอบตกแต่งและสัญลักษณ์ในงานสถาปัตยกรรม และการสื่อความหมายของสัญญะ ผลการศึกษาพบว่า สิมวัดสุปัฏนารามตั้งบนทำเลที่ดี อยู่เหนือแม่น้ำ มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมอิทธิพลรัตนโกสินทร์ผสมแบบท้องถิ่น อาสนวิหารตั้งในที่ลุ่ม คนพื้นเมืองเชื่อว่าเป็นดงไข้ป่าดงผีสิง แต่อาสนวิหารหลังแรกถูกสร้างขั้นโดยการประยุกต์จากเรือนลาว เมื่อมีความมั่นคงทั้งกำลังคนและทรัพย์จึงสร้างหลังใหม่ โดยใช้วัสดุและเทคนิคที่ทันสมัย รวมถึงรูปแบบงานสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกที่มีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับอาคารของท้องถิ่น ควบคู่กับนโยบายการเผยแผ่ศาสนาที่เป็นวิทยาศาสตร์ แสดงถึงการเอาชนะความเชื่อดั้งเดิมในเรื่องพื้นที่ ในเวลาใกล้เคียงกันสิมวัดสุปัฏนารามกลับทรุดโทรมลง สมัยสมเด็จพระมหาวีรวงศ์จึงสร้างสิมหลังใหม่ ให้มีขนาดใหญ่โดยช่างกรุงเทพฯ เป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง เป็นสถาปัตยกรรมที่มีรูปแบบผสมทั้งไทย ตะวันตก และการตกแต่งแบบท้องถิ่น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสิมวัดสุปัฏนารามและอาสนวิหารแม่พระนิรมล ได้แสดงให้เห็นถึงการช่วงชิงความนิยมของศาสนาในพื้นที่ผ่านงานสถาปัตยกรรม สัญลักษณ์องค์ประกอบตกแต่ง พื้นที่ใช้งานภายในและขนาดอาคารที่เปลี่ยนไป ควบคู่กับการเผยแผ่ศาสนาที่พยายามนำความทันสมัยมาสู่เมืองอุบลราชธานี ABSTRACT Dhammayut sect of Buddhism from Bangkok and Christianity were introduced to Ubon Ratchathani during the year 1851-1930. The center of both religions were established not so apart from each other. The church of the Christian had been rebuilt several years before the new ordination hall (sim)of Wat Suphat Naram monastery. However, to investigate the architectural designs and the meaning of building elements will be an important part of understanding these architectures and they contexts. This study aims to compare the changes of the ordination hall and the church in the historical context of Ubon Ratchathani by interpretation through the architecture design, decorative elements and symbols in architecture. The result indicates that the ordination hall of Wat Suphat Naram is settled at an auspicious location above the tides of River Mun. It represents the influence of Bangkok architectural style and local character. The church was located in a lowland which local people believed that it was a jungle of fever and haunted. The first church building was built by applying from local house. After had an adequate manpower, a new church was built by using modern materials and technique in western architectural style. It was a large building compared to local ordination hall. They continued scientific missionary policy, showing the overcoming of traditional beliefs of that area. At about the same time, the old ordination hall of Wat Suphat Naram was in a state of dilapidated. During the period of the abbot Maha Wirawong a new ordination hall was built. It is designed by an architect in Bangkok and had its size larger than the old one. Its style is an integrated of Thai, western architecture and local decoration styles. The ordination hall of Wat Suphat Naram and the Christian church Demonstrating the competing of dissemination of religions in the area through architecture, decorative elements, symbols, function, the change of the building sizes along with bringing modernity to Ubon Ratchathani  
     คำสำคัญ คำสำคัญ: สิม โบสถ์อาสนวิหาร สัญลักษณ์ Keyword: Ordination hall, Church, Symbol 
ผู้เขียน
585200001-2 นาย ชเยศ ศรีแก้ว [ผู้เขียนหลัก]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0