2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การศึกษาเชิงสำรวจเกี่ยวกับความรู้ ความเชื่อและการตัดสินใจเข้ารับการรักษา เมื่อคาดว่าจะเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันของผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 8 พฤษภาคม 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 36 
     ฉบับที่ 3/2563 
     เดือน กันยายน ถึง ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบลักษณะพื้นฐานทางประชากรต่อความรู้ ความเชื่อและการตัดสินใจเข้ารับการรักษาของผู้สูงอายุ เมื่อคาดว่าจะเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โดยศึกษาในผู้สูงอายุ จำนวน 405 คน ที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมือง กึ่งเมืองกึ่งชนบทและชนบท จังหวัดร้อยเอ็ด ทำการสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสัมภาษณ์ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ซึ่งมีค่าการทดสอบซ้ำและค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคอยู่ระหว่าง .78-.95 วิเคราะห์ข้อมูลผลการศึกษาโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และไคว์สแควร์ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 66.42 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 70.36 ปี ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท ร้อยละ 44.94 ใช้สิทธิการรักษาระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ร้อยละ 80.00 มีประวัติการมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ร้อยละ 7.65 และเคยพบเห็นผู้มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ร้อยละ 11.60 ผลการศึกษาด้านความรู้พบว่าอยู่ในระดับต่ำทั้งด้านอาการและอาการแสดงและปัจจัยเสี่ยง มีการรับรู้ว่าค่อนข้างไม่มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เห็นด้วยว่าภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันเป็นภาวะที่มีความรุนแรง การโทรเรียกบริการการแพทย์ฉุกเฉินเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ ค่อนข้างเห็นด้วยว่าตนเองมีสิ่งชักนำเพียงพอในการปฏิบัติ แต่ค่อนข้างไม่เห็นด้วยว่าตนมีอุปสรรคต่อการเข้ารับการรักษา นอกจากนี้ ประมาณครึ่งหนึ่งจะเลือกโทรขอความช่วยเหลือจากบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน (1669) เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานทางประชากรพบความแตกต่างของความรู้ตาม สถานภาพสมรส การอยู่อาศัย พื้นที่อยู่อาศัย อาชีพ สิทธิรักษาพยาบาล และประวัติการเคยมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ส่วนความแตกต่างของความเชื่อพบตาม เพศ การอยู่อาศัย พื้นที่อยู่อาศัย รายได้/ปีของครอบครัว อาชีพ สิทธิการรักษาพยาบาล สถานะทางสุขภาพ ประวัติการเคยมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ประวัติการเคยพบเห็นผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ระดับการศึกษาสูงสุด ท้ายสุดมีเพียงรายได้/ปีของครอบครัว และพื้นที่อยู่อาศัย ที่พบความแตกต่างของการตัดสินใจเข้ารับการรักษา จากผลการวิจัยดังกล่าว ควรมีการพัฒนารูปแบบและเนื้อหาโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อเพิ่มระดับความรู้เกี่ยวกับอาการและปัจจัยเสี่ยง ปรับเปลี่ยนการรับรู้เกี่ยวกับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และควรให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการโทรเรียกบริการการแพทย์ฉุกเฉินโดยเฉพาะเมื่อเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที  
     คำสำคัญ ผู้สูงอายุ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ความรู้ ความเชื่อ การตัดสินใจเข้ารับการรักษา การวิจัยเชิงสำรวจ 
ผู้เขียน
605060088-4 นาย รชฏ โคตรสินธุ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0