2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การศึกษาองค์ประกอบของภาวะผู้นำแบบร่วมพลังของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมสัมมนาทางวิชาการ การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ และงานบริหารสัมพันธ์ ประจำปี 2563 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.) 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว 
     จังหวัด/รัฐ เชียงใหม่ 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 7 กุมภาพันธ์ 2563 
     ถึง 7 กุมภาพันธ์ 2563 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 269-287 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของภาวะผู้นำแบบร่วมพลังของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย โดยดำเนินการวิจัยเป็น 2 ขั้นตอน คือ1) ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวกับภาวะผู้นำแบบร่วมพลัง จำนวน 14 เรื่อง เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบของภาวะผู้นำแบบร่วมพลัง จากแนวคิด เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และ 2) ยืนยันองค์ประกอบของภาวะผู้นำแบบร่วมพลังของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามกรอบแนวคิดที่สังเคราะห์ได้จากเอกสาร โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 4 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำแบบร่วมพลังของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. ความไว้วางใจ มี 5 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) บุคลากรมีความเชื่อมั่นต่อผู้บริหารว่าเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ 2) บุคลากรมีความเชื่อมั่นต่อผู้บริหารว่าเป็นผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรม 3) ผู้บริหารมีความเมตตาต่อผู้อื่น 4) ผู้บริหารส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน 5) ผู้บริหารสามารถปฏิบัติได้ตามสิ่งที่พูด และพูดในสิ่งที่สามารถปฏิบัติได้ 2. ความผูกพันต่อองค์การ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ผู้บริหารรู้สึกผูกพันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับองค์การ 2) ผู้บริหารมีความจงรักภักดี เต็มใจที่จะทุ่มเทอุทิศตนให้กับองค์การเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ 3) ผู้บริหารมีความพยายามในการทำงาน มีส่วนร่วมในการทำงาน 4) ผู้บริหารไม่มีความคิดที่จะโยกย้ายหรือเปลี่ยนที่ทำงาน 3. วิสัยทัศน์ร่วม ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ ดังนี้ 1) ผู้บริหารสถานศึกษาเปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ 2) ผู้บริหารสถานศึกษามีการชี้แจงให้บุคลากรรับรู้ในวิสัยทัศน์ขององค์การหรือประเด็นยุทธศาสตร์พันธกิจ และเป้าประสงค์ที่ทำให้วิสัยทัศน์บรรลุผลร่วมกัน 3) ผู้บริหารสถานศึกษาสนับสนุนให้บุคลากรปฏิบัติงานอย่างสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์การ 4. การตัดสินใจร่วม ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ผู้บริหารสถานศึกษาเปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดในการนำไปปฏิบัติเพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้ 2) ผู้บริหารสถานศึกษามีการใช้สารสนเทศเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ 3)ผู้บริหารสถานศึกษามีเป้าหมายในการตัดสินใจ โดยมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์การ 5. การจัดการความเสี่ยง ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ ดังนี้ 1) ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถยอมรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น เนื่องจากไม่คุ้มค่าในการจัดการควบคุมหรือป้องกันความเสี่ยง 2) ผู้บริหารสถานศึกษามีการปรับปรุงระบบการทำงานหรือการออกแบบวิธีการทำงานใหม่เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดหรือลดผลกระทบให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ 3) ผู้บริหารสถานศึกษามีการกระจายหรือถ่ายโอนความเสี่ยงให้ผู้อื่นช่วยแบ่งความรับผิดชอบไป  
ผู้เขียน
615050059-8 น.ส. ศิวารักษ์ ไชยสมบัติ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0