2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผลของสารละลายโครงร่างสังเคราะห์ชนิดไฮดรอกซี่อะพาไทต์สามมิติต่อเซลล์ปฐมภูมิกระดูกมนุษย์ Effect of 3D-printed nano hydroxyapatite solution on primary human osteoblast cells  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 29 พฤษภาคม 2563 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 5 การวิจัยเพื่อการเปลี่ยนแปลง "Research to Make A CHANGE" 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยราชธานี 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยราชธานี 
     จังหวัด/รัฐ อุบลราชธานี 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 29 พฤษภาคม 2563 
     ถึง 29 พฤษภาคม 2563 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 90-101 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ วัสดุชีวภาพ (Biomaterial) ถูกนำมาใช้เป็นโครงร่างปลูกถ่ายทดแทนกระดูกตนเอง (Autologous bone grafting) เพื่อหลีกเลี่ยงการผ่าตัดเพิ่มเติมในตำแหน่งของการนำกระดูกตนเองมาใช้ ลดเวลาในการรักษา และภาวะแทรกซ้อน ปัจจุบันมีการพัฒนาวัสดุโครงร่างปลูกถ่ายประเภทสังเคราะห์ชนิดไฮดรอกซี่อะพาไทต์ที่ขึ้นรูปด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ ในการทำหน้าที่เป็นโครงร่างปลูกถ่ายทดแทน อย่างไรก็ตามการนำโครงร่างปลูกถ่ายประเภทสังเคราะห์ชนิดไฮดรอกซีอะพาไทต์ที่ขึ้นรูปด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติมาใช้ ยังไม่มีการรายงานผลกระทบในด้านความเป็นพิษและการมีชีวิตอยู่ของเชลล์ การศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของวัสดุโครงร่างปลูกถ่ายประเภทสังเคราะห์ชนิดไฮดรอกซีอะพาไทต์ที่ขึ้นรูปด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ (3D-printed nano HA ,MTEC, Thailand) ต่อความมีชีวิตของเซลล์กระดูกมนุษย์ โดยทำการเพาะเลี้ยงเซลล์ปฐมภูมิของเซลล์กระดูกมนุษย์ร่วมกับสารละลายวัสดุโครงร่างปลูกถ่ายประเภทสังเคราะห์ชนิดไฮดรอกซีอะพาไทต์ที่ขึ้นรูปด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ ที่ความเข้มข้น 0, 20, 40 และ 80 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร เป็นระยะเวลา 24, 48 และ 72 ชั่วโมง ทดสอบความมีชีวิตของเซลล์ด้วยวิธีเอ็มทีที (MTT assay) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยร้อยละความมีชีวิตของเซลล์ (% Cell Viability) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษาพบว่าวัสดุโครงร่างปลูกถ่ายประเภทสังเคราะห์ชนิดไฮดรอกซีอะพาไทต์ที่ขึ้นรูปด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติความเข้มข้น 20, 40 และ 80 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร มีค่าเฉลี่ยร้อยละความมีชีวิตของเซลล์กระดูกมนุษย์ แตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) สรุปได้ว่าวัสดุโครงร่างปลูกถ่ายประเภทสังเคราะห์ชนิดไฮดรอกซีอะพาไทต์ที่ขึ้นรูปด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ และมีความเข้ากันได้ดีทางชีวภาพกับเซลล์กระดูกมนุษย์ ดังนั้นอาจจะเหมาะในการพัฒนาเพื่อนำมาใช้ในการทำหน้าที่เป็นโครงร่างปลูกถ่ายทดแทนบริเวณที่เกิดความวิการของกระดูกในอนาคต 
ผู้เขียน
605130010-2 น.ส. สุนทรี บุญนาดี [ผู้เขียนหลัก]
คณะทันตแพทยศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 11