2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ สมบัติการต้านแบคทีเรียของสารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวและแผ่นฟิล์มยางพาราผสมสารสกัดเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 1 กรกฎาคม 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ. 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่  
     ฉบับที่  
     เดือน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า  
     บทคัดย่อ งานวิจัยนี้ทำการสกัดสารไลโคปีนจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวโดยใช้เทคนิคการสกัดแบบอัลตราโซนิกที่ใช้เอทานอลเป็นตัวทำละลาย และทำการขึ้นรูปแผ่นฟิล์มยางพาราผสมสารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวด้วยเทคนิคการหล่อขึ้นรูป ทำการวิเคราะห์หาปริมาณสารไลโคปีนด้วยเทคนิค HPLC สารที่สกัดได้และแผ่นฟิล์มยางพาราที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวถูกนำไปทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus (S. aureus) และ Escherichia coli (E. coli) ผลการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค HPLC พบว่าสามารถสกัดสารไลโคปีนจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวได้สูงสุด 2.2069 mg/g ของเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวสด และสารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อ S. aureus ได้ดีกว่า E. coli พบว่าในเชื้อ E. coli สารที่สกัดได้มีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งการเจริญของเชื้อ (MIC) และความเข้มข้นต่ำสุดที่ฆ่าเชื้อได้ (MBC) เท่ากันคือ 50 mg/mL ในขณะที่เชื้อ S. aureus มีค่า MIC เท่ากับ 12.5 mg/mL และค่า MBC เท่ากับ 25 mg/mL ในส่วนของแผ่นฟิล์มยางพาราผสมสารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวทุกสูตรสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ S. aureus ได้ดีกว่า E. coli จากแผ่นฟิล์มยางพาราทั้ง 5 สูตร พบว่าแผ่นฟิล์มสูตร REGP6 (สูตรที่ 5) เป็นแผ่นฟิล์มที่ดีที่สุดในการยับยั้งการเจริญของเชื้อ E. coli และ S. aureus เมื่อเทียบกับแผ่นฟิล์มสูตรอื่นๆ โดยมีบริเวณการยับยั้งเชื้อเฉลี่ย 0.71±0.51 และ 1.74±0.27 mm ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าความสามารถในการยับยั้งการเจริญของเชื้อ S. aureus ของแผ่นฟิล์มสูตร REGP6 ที่มีอายุการเก็บ 30 วัน จะลดลงร้อยละ 57 เทียบกับแผ่นฟิล์มยางพาราสูตรเดียวกันที่มีอายุ 1 วัน 
     คำสำคัญ เยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว ไลโคปีน สมบัติการต้านแบคทีเรีย แผ่นฟิล์มยางพารา 
ผู้เขียน
605040084-4 น.ส. ปราณปริยา จันทร์เพ็ง [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0