2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ กระบวนการจัดการศึกษาวิชาภาษาไทยของโรงเรียนขนาดเล็กที่มีผลต่อความสามารถด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียน 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 24 มิถุนายน 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 
     ISBN/ISSN 2539-6757 
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน เมษายน-มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า 88-102 
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษากระบวนการจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กที่มีผลต่อความสามารถด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน ครูผู้สอนวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 3 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จํานวน 45 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์โพรโทคอล (Protocol) และวิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา โดยมีผลการวิจัยดังนี้ กระบวนการจัดการศึกษาวิชาภาษาไทยของโรงเรียนขนาดเล็กที่มีผลต่อความสามารถด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียน พบทั้งสิ้น 6 กระบวนการ ได้แก่ 1) การวางแผนการจัดการศึกษา โดยผู้อำนวยการโรงเรียนจัดประชุมชี้แจงครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครอง เพื่อสร้างความเข้าใจ ร่วมกันกำหนดนโยบายในการดำเนินการร่างหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนทบทวนและจัดทำหลักสูตรและปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาให้มีความสอดคล้องกับแนวทางจัดการศึกษา มีจุดเน้นของการจัดการศึกษาตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้ เมื่อจบการศึกษาระดับประถมศึกษา 2) การเตรียมการจัดการเรียนรู้ ครูภาษาไทยศึกษาหลักสูตรสถานศึกษา ศึกษามาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ จัดทำสื่อการเรียนรู้ ใบความรู้และใบงานให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้ 3) การจัดการเรียนรู้ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน มีกิจกรรมการนำเข้าสู่บทเรียน เช่น การนำเข้าสู่บทเรียนด้วยกิจกรรม Brain Gym การนำเข้าสู่บทเรียนด้วยการพูดเชื่อมโยงบทเรียน ฯลฯ ในขั้นสอน ครูมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ ครูมีการจัดการเรียนรู้โดยใช้ทั้งกิจกรรมกลุ่มและกิจกรรมเดี่ยว และขั้นสรุปบทเรียน พบลักษณะการสรุปบทเรียน 2 ลักษณะ โดยครูเลือกนักเรียนเป็นผู้สื่อข่าวของคาบ และครูจะเน้นย้ำและสรุปสาระสำคัญของเรื่องที่สอนร่วมกับนักเรียน 4) การประเมินผลการเรียนรู้ ครูมีการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง ประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนโดยสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน ประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนจากใบงานและประเมินผลการเรียนรู้โดยผู้ปกครองประเมินนักเรียน และเพื่อนประเมินเพื่อน 5) การส่งเสริมการเรียนรู้ โรงเรียนจัดกิจกรรมพี่สอนน้อง อ่านคล่องเขียนเก่งในช่วงพักกลางวันและสอนซ่อมเสริมวิชาภาษาไทยทุกวันอังคาร ในเวลา 14.30 -15.30 น. และ 6) การพัฒนาการศึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียนได้นิเทศการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทยทุกห้องเดือนละ 1 ครั้ง ครูภาษาไทยมีการอบรมเพื่อพัฒนาตนเองและการจัดการเรียนรู้ ตลอดการพัฒนาสื่อหรือนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้  
     คำสำคัญ กระบวนการจัดการศึกษา,วิชาภาษาไทย,ความสามารถด้านการอ่านและการเขียน 
ผู้เขียน
615050073-4 น.ส. นันทวรรณ โอดสู [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0