2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การพัฒนาความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง เคมีไฟฟ้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน (model based inquiry: MBI) ร่วมกับภาพเคลื่อนไหว (animation) 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 30 พฤษภาคม 2563 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 7 เรื่อง นวัตกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนาชุมชน 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
     สถานที่จัดประชุม หอประชุมประภากรคอนเวนชันฮอลล์ 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 30 พฤษภาคม 2563 
     ถึง 30 พฤษภาคม 2563 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 344-355 
     Editors/edition/publisher การพัฒนาความสามารถในการสร้างคาอธิบายทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง เคมีไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ โดยใช้แบบจาลองเป็นฐาน (model based inquiry: MBI) ร่วมกับภาพเคลื่อนไหว (animation) 
     บทคัดย่อ การอธิบายทางวิทยาศาสตร์ถือเป็นสิ่งที่สำคัญในการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ เพื่อที่ตอบคำถามว่าปรากฏการณ์เกิดขึ้น ได้อย่างไรและเพราะเหตุใด ซึ่งจำเป็นกับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ดังนั้นงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเปรียบเทียบความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง เคมีไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานร่วมกับภาพเคลื่อนไหว โดยใช้รูปแบบการวิจัยทดลองขั้นต้นและกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 32 คน ที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (มอดินแดง) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังเรียนเพื่อให้นักเรียนระบุข้อกล่าวอ้าง หลักฐาน และเหตุผล แล้วนำมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้ค่าร้อยละ และ Wilcoxon signed-ranks test จากผลการวิจัย พบว่านักเรียนมีความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ในระดับดีมากหลังจากการจัดการ เรียนรู้ โดยจำนวนนักเรียนที่สามารถระบุองค์ประกอบของคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ในระดับ 2 เพิ่มขึ้นในทุกองค์ประกอบ และจำนวนนักเรียนที่ระบุองค์ประกอบของคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ในระดับ 0 ลดลงในทุกองค์ประกอบ และเมื่อเปรียบเทียบความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังเรียนของทั้ง 2 แผนจัดการเรียนรู้ พบว่านักเรียนมีความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนมากกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 
ผู้เขียน
615050189-5 นาย พิษณุ ศุภศาสตร์วงศ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0