2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ระบบวรรณยุกต์ภาษาไทยถิ่นอีสาน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 19 มีนาคม 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ปริทัศน์ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 
     ISBN/ISSN
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม - มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า 102-111 
     บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบวรรณยุกต์ภาษาไทยถิ่นอีสาน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่นเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้บอกภาษาจำนวน 11 คน จาก 11 ตำบลของอำเภอภูเวียง กลุ่มอายุ 55-60 ปี โดยใช้รายการคำทดสอบเสียงวรรณยุกต์ของเก็ดนีย์และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยกลวิธีทางสัทศาสตร์โดยใช้โปรแกรม Praat เวอร์ชั่น 6.0.33 ผลการศึกษาพบว่าภาษาไทยถิ่นอีสาน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น มีจำนวนหน่วยเสียงวรรณยุกต์ 5 และ 6 หน่วยเสียง โดยกลุ่มที่มีวรรณยุกต์จำนวน 5 หน่วยเสียง พบในพื้นที่ 5 ตำบล ได้แก่ ต.หว้าทอง ต.นาชุมแสง ต.บ้านเรือ ต.หนองกุงธนสาร และ ต.สงเปือยรูป แบบการแยกเสียงรวมเสียงของวรรณยุกต์พยางค์เป็นช่อง A สามารถแบ่งย่อยได้เป็น2 กลุ่ม คือ A1-234 และ A123-4 ส่วนกลุ่มที่มีวรรณยุกต์จำนวน 6 หน่วยเสียง พบในพื้นที่ 6 ตำบล ได้แก่ ต.กุดขอนแก่น ต.ดินดำ ต.ทุ่งชมพู ต.ภูเวียง ต.นาหว้า และ ต.หนองกุงเซินมีรูปแบบการแยกเสียงรวมเสียงของวรรณยุกต์พยางค์เป็นช่อง A เพียงรูปแบบเดียว คือ A1-23-4 เมื่อพิจารณาสัทลักษณะของวรรณยุกต์พบว่ามีการแปรที่หลากหลายแตกต่างกันตามถิ่นที่อยู่อาศัย และพบรูปแปรที่สามารถจัดแบ่งกลุ่มภาษาถิ่นย่อยได้อีกหลายถิ่น 
     คำสำคัญ ระบบวรรณยุกต์, การแปรของวรรณยุกต์, ภาษาไทยถิ่น, ภาษาถิ่นย่อย, ภาษาไทยถิ่นอีสาน อำเภอภูเวียง 
ผู้เขียน
605080006-0 น.ส. พร้อมสิริ นามมุงคุณ [ผู้เขียนหลัก]
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0