2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ประสิทธิภาพทางไฟฟ้าเคมีของวัสดุแคโทดชนิดลิเทียมไอรอนฟอสเฟตที่สามารถควบคุมรูปร่างได้ในคู่ตัวทำละลายโดยวิธีโซลโวเทอร์มอลสำหรับแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออน 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 29 มิถุนายน 2563 
การประชุม
     ชื่อการประชุม โครงการประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 10 เรื่อง “การยกระดับคุณภาพ การศึกษาและพัฒนามนุษย์ในศตวรรษที่ 21” 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยศิลปากร 
     สถานที่จัดประชุม เสนอผลงานวิจัยแบบออนไลน์ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 
     จังหวัด/รัฐ  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 25 มิถุนายน 2563 
     ถึง 26 มิถุนายน 2563 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 20 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ S614-S621 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ วัสดุลิเทียมไอรอนฟอสเฟต (LiFePO4; LFP) ถูกนำมาใช้เป็นวัสดุขั้วบวกในเชิงพาณิชย์สำหรับแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออน เนื่องจากมีช่วงการทำงานของความต่างศักย์ที่เหมาะสม (3.4 V vs. Li+/Li) มีค่าความจุไฟฟ้าทางทฤษฎีที่สูง (170 mAh g-1) ราคาถูก เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเสถียรที่อุณหภูมิสูง อย่างไรก็ตาม LFP ยังคงมีค่าความนำไฟฟ้าที่ต่ำ และมีการแพร่ในหนึ่งมิติในแนวแกน b ช้า ซึ่งขนาดและรูปร่างมีอิทธิพลโดยตรง ในงานวิจัยนี้ วัสดุ LFP ที่สามารถควบคุมขนาดและรูปร่างของอนุภาคได้ ถูกสังเคราะห์ด้วยวิธีโซลโวเทอร์มอล ให้มีลักษณะเป็นทรงกลม เป็นแผ่น และเป็นแท่ง ในตัวทำละลายระหว่างเอทิลีนไกลคอล (EG) และน้ำ (DI) โดยขนาดและรูปร่างสามารถควบคุมได้จากการปรับเปลี่ยนอัตราส่วนของตัวทำละลายทั้งสอง นอกจากนี้จากการศึกษาประสิทธิภาพทางไฟฟ้าเคมีของวัสดุ LFP ที่มีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันด้วยเทคนิคการอัดและคายประจุ (Galvanostatic charge-discharge cycling) พบว่า วัสดุ LFP ที่มีอนุภาคทรงกลมสามารถให้ค่าความจุไฟฟ้าจำเพาะสูงที่สุดถึง 158 mAh g-1 ที่อัตรากระแส 0.1C และยังสามารถให้ค่าความจุไฟฟ้าถึง 80% ของค่าการคายประจุเริ่มต้นหลังจากอัดคายประจุแล้ว 1,000 รอบ ที่อัตรากระแส 1C ดังนั้น จึงเป็นการยืนยันได้ว่ารูปร่างและขนาดที่แตกต่างกันส่งผลต่อประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออน 
ผู้เขียน
615020016-4 น.ส. สุจีรา พฤกษชาติ [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิทยาศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0