2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ วิเคราะห์การสร้างทางขับร้องอาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 14 กรกฎาคม 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 13 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า  
     บทคัดย่อ อาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน ศิลปินแห่งชาติ สาขาคีตศิลป์ไทย พ.ศ. 2530 เป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อวงการดนตรีไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับร้องเพลงไทย อาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน ได้รับการถ่ายทอดความรู้จากพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) ซึ่งเป็นบิดาและเป็นผู้ประดิษฐ์ปรับปรุงการขับร้องเพลงไทยจากอดีตให้มีความไพเราะมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้อาจารย์เจริญใจยังได้เรียนเพิ่มเติมกับครูผู้ใหญ่หลายท่าน จึงทำให้อาจารย์เจริญใจมีแหล่งความรู้ที่หลากหลายทั้งด้านการบรรเลงดนตรีไทยและการการขับร้องเพลงไทย จนสามารถตกผลึกเป็นความรู้ใหม่นำมาสร้างทางขับร้องเป็นของตนเอง ผู้วิจัยมีได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของอาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน จึงได้เลือกวิเคราะห์การสร้างทางขับร้องของอาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน เป็นหัวข้อในการศึกษาวิจัย โดยมีเพลงที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ทั้งหมด ๓ เพลง ได้แก่ เพลงจินตะหราวาตี เถา เพลงพญาสี่เสา เถา และเพลงลบรอยแผลรัก เถา การสร้างทางขับร้องของอาจารย์เจริญใจมีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องคือ ความรู้เรื่องเบื้องต้นเกี่ยวกับทำนองหลักของเพลงซึ่งเป็นส่วนสำคัญ เพราะต้องนำลูกตกของทำนองหลักไปใช้ในการสร้างสำนวนเอื้อนในเพลง และยังมีองค์ประกอบอื่นที่ใช้ในการสร้างทางขับร้องคือ วิธีการบรรจุบทร้อง การแบ่งคำ การวางคำ การกระจายคำ และการแบ่งสัดส่วนในการสร้างสำนวนเอื้อน การสร้างสำนวนเอื้อนสามรถแบ่งวิธีการทำได้ ๒ แบบ คือ การสร้างสำนวนเอื้อนโดยตกพร้อมลูกตกของทำนองหลัก และการสร้างสำนวนเอื้อนโดยตกหลังลูกตกของทำนองหลัก นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงทิศทางกระสวนทำนองเพลง จังหวะหน้าทับ และบันไดเสียงของเพลงด้วย จากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้พบเอกลักษณ์ที่สำคัญของอาจารย์เจริญใจ คือ กลวิธีวิธีการขับร้องหรือเทคนิคการขับร้อง ซึ่งแบ่งวิธีการเอื้อนในเพลงที่สำคัญได้ ๓ แบบดังนี้ การเอื้อนสามเสียง การเอื้อนกระทบและการเอื้อนครั่น โดยการเอื้อนทั้ง ๓ แบบนี้พบได้ทั้งในสำนวนการเอื้อนและการร้องคำ นอกจากนี้ยังมีวิธีการใช้ลมหายใจที่อาจารย์ได้แบ่งไว้อย่างเป็นสัดส่วนที่สวยงาม การศึกษาวิจัยเรื่อง วิเคราะห์การสร้างทางขับร้องอาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน เพลงจินตะหราวาตี เถา เพลงพญาสี่เสา เถา และเพลงลบรอยแผลรัก เถา ในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทราบถึงกระบวนการในการสร้างทางขับร้องและวิธีการในการสร้างสำนวนเอื้อนอย่างครบถ้วนตามวัตถุประสงค์  
     คำสำคัญ การสร้างทางขับร้อง, เจริญใจ สุนทรวาทิน 
ผู้เขียน
595220006-1 นาย สุรชัย มโนวรรณ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0