2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของกลุ่มเกษตรกรไร่อ้อย ตำบลหนองอีบุตร อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 16 กรกฎาคม 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 28 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-เมษายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยเชิงพรรณนา แบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของกลุ่มเกษตรกรไร่อ้อย ตำบลหนองอีบุตร อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ ประชากร 254 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และเจาะปลายนิ้วเพื่อตรวจคัดกรองระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส สถิติพรรณนาที่ใช้ เป็นค่าเฉลี่ย ร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูลโดยตัวแปรเดี่ยวและนำเสนอด้วยค่า OR และ 95% CI ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรไร่อ้อยส่วนมากเป็นเพศชาย ร้อยละ 86.6 อายุเฉลี่ย 58.0 ± 12.4 ปี การศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 88.6 มีการใช้สารเคมีฯ ร้อยละ 99.6 และมีอาการผิดปกติหลังจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ร้อยละ 87.0 ผลตรวจระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส พบว่า ระดับมีความเสี่ยง ไม่ปลอดภัย ปลอดภัย และ ปกติ ร้อยละ 53.5, ร้อยละ 28.0, ร้อยละ 16.9 และร้อยละ 1.6 ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สารเคมี กับระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเกษตรกรไร่อ้อย พบว่า ทุกพฤติกรรมที่เป็นข้อมูลปัจจัยและอาการผิดปกติหลังการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช มีความสัมพันธ์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังต้องมีการจัดกิจกรรมการป้องกันตนเอง ให้เกษตรกรไร่อ้อย เพื่อให้เกิดความตระหนัก การปฏิบัติ การป้องกันดูแลสุขภาพตนเอง ในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องเป็นประจำ The cross-sectional descriptive study aimed to study health effect from pesticides using in sugarcane farmers, Nong I But sub-district, Huai Phung district, Kalasin province. About 254 were participated in this study using questionnaires and screening cholinesterase enzyme levels testing. Descriptive statistics were presented by average, percentage, standard deviation, and the relationship of the data was used as univariable analysis and present with odd ratio and 95 % confidence interval. The results showed that general information of sugarcane farmers were males 86.6%, mean age = 58.0 ± 12.4 years, the primary education levels 88.6%. Almost 99.6% of sugarcane farmers used pesticides for weed. Almost 87.0% of the farmers were affected after used the pesticides. Cholinesterase test results showed that the “Risk”, “Unsafe”, “Save”, and “Normal” levels were 53.5%, 28.0%, 16.9% and 1.6%. The relationship between various factors from behaviors and cholinesterase test, the symptom’s after pesticide using and cholinesterase test, we found that they were no overall significantly different at the statistical level of 0.05 However, the public health officials and related departments still manage and organize the self-protection activities by consistency and continuous for sugarcane farmers to realize, practice for reducing the health effect of using pesticides. 
     คำสำคัญ ผลกระทบต่อสุขภาพ, สารเคมีกำจัดศัตรูพืช, เกษตรกรไร่อ้อย 
ผู้เขียน
615110046-4 น.ส. นงลักษณ์ โชติมุข [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0