2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การประเมินความเสี่ยงต่อการป่วยที่เกี่ยวเนื่องกับความร้อนจากการทำงานของเกษตรกรเพาะปลูก จังหวัดขอนแก่น  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 22 กรกฎาคม 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 13 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม - ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาพตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการป่วยที่เกี่ยวเนื่องกับความร้อน ในเกษตรกรเพาะปลูก กลุ่มตัวอย่างจำนวน 371 คน จากการสุ่มแบบคลัสเตอร์ในเกษตรกร อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เก็บข้อมูลระหว่างเดือน เมษายน - กันยายน พ.ศ.2562 ในเวลา 8.00 – 18.00 น. ด้วยการสัมภาษณ์ ตรวจวัดอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ วัดความชื้นและความเร็วลม ประเมินความเสี่ยงต่อการป่วยโดยอาศัยเมตริกความเสี่ยงที่คำนึงถึงโอกาสและความรุนแรงของการป่วยจากความร้อน ทดสอบความสัมพันธ์ ใช้สถิติของเพียร์สันไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ปลูกข้าว มีพื้นที่เพาะปลูก ≤ 10 ไร่ มีการเข้าพักในที่ร่มขณะพักการปฏิบัติงานเฉลี่ย 29.94 นาที/ ครั้ง ระยะเวลาการทำงานเฉลี่ย >6-8 ชั่วโมง/วัน ระยะเวลาการทำงานต่อเนื่องโดยไม่หยุดพักมากกว่า 120 นาที/วัน ความถี่ในการทำงาน >4-7 วัน/สัปดาห์ พื้นที่ปฏิบัติงานมีระดับอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ เฉลี่ย 35.82 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด พื้นที่พักมีอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ เฉลี่ย 33.27 องศาเซลเซียส ความเร็วลมขณะปฏิบัติงาน เฉลี่ย 1.38 เมตร/วินาที และขณะพักค่าเฉลี่ยความเร็วลม 1.11 เมตร/วินาที ความชื้นสัมพัทธ์ขณะปฏิบัติงานเฉลี่ย 54.40% ความชื้นสัมพัทธ์ขณะพักเฉลี่ย 58.52% เกษตรกรส่วนใหญ่มีภาระงานหนัก (>350 กิโลแคลอรี/ชั่วโมง) ร้อยละ 84.10 ค่าเฉลี่ย 488.39 กิโลแคลอรี/ชั่วโมง การป่วยจากความร้อนที่พบบ่อยที่สุด คือ ปวดเกร็งกล้ามเนื้อ ที่ขา แขน หรือท้อง ระดับโอกาสการป่วยจากความร้อนพบ ระดับ 2 ร้อยละ 0.81 ระดับ 3 ร้อยละ 1.62 และ ระดับ 4 ร้อยละ 97.57 ความรุนแรงของการป่วยจากความร้อน มีอาการเล็กน้อย ร้อยละ 17.25 อาการปานกลาง ร้อยละ 29.92 อาการรุนแรง ร้อยละ 18.06 และรุนแรงมาก ร้อยละ 0.27 ระดับความเสี่ยงต่อการป่วยจากความร้อน พบระดับเสี่ยงต่ำ ร้อยละ 34.50 เสี่ยงปานกลาง ร้อยละ 18.87 เสี่ยงสูง ร้อยละ 29.11 และเสี่ยงสูงมาก ร้อยละ 17.52 ระดับความเร็วลมในขณะปฏิบัติงาน ความชื้นสัมพัทธ์ในขณะปฏิบัติงานและขณะพัก มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเชิงเส้นตรงในทิศทางตรงกันข้ามกับระดับความเสี่ยง (r = - 0.145,r = -0.211 และ r = -0.194 ตามลำดับ) ดังนั้นเสนอแนะให้เกษตรกรที่มีความเสี่ยงค่อนข้างสูงนั้นมีการลดภาระงานลง โดยลดระยะเวลาทำงานและให้มีเวลาพักมากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงของการป่วยจากความร้อนและในการศึกษาครั้งต่อไปควรขยายผลไปสู่การหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดการป่วยจากความร้อนเพื่อการป้องกันการป่วยจากความร้อนในเกษตรกร 
     คำสำคัญ เกษตรกรเพาะปลูก / อุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ / เมตริกความเสี่ยง 
ผู้เขียน
605110082-9 นาย ปฐมฤกษ์ มีสมบัติ [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0