2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรมโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 31 กรกฎาคม 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 27 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า  
     บทคัดย่อ ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา บทคัดย่อ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi – Experimental Research) แบบแผนการวิจัยเป็นการศึกษากลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง(One group pre-posttest design)มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรมโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง ได้แก่พยาบาลพี่เลี้ยง 19 คนและพยาบาลจบใหม่ 13 คน ใช้กรอบแนวคิดในการวิจัยของ Kurt Lewin ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผน 2) การปฏิบัติ 3) การสังเกตและบันทึก 4) การสะท้อนผลโดยใช้การมีส่วนร่วมของพยาบาลพี่เลี้ยงและพยาบาลจบใหม่ในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม เครื่องมือการวิจัยได้แก่ รูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรมแบบประเมินความรู้ของพยาบาลพี่เลี้ยง แบบประเมินทัศนคติต่อรูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยง แบบประเมินทักษะการปฏิบัติบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงและแบบประเมินความพึงพอใจต่อการพัฒนารูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยง ได้ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .80ทั้ง 4 ชุด และได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .84 .90 .94 และ .80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิลคอกชัน ผลการวิจัยพบว่าพยาบาลพี่เลี้ยงมีความรู้ (Z = -3.84, p <.001) ทัศนคติ(Z = -3.15, p = .002) และทักษะการปฏิบัติบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง (Z = -2.99, p = .003) ก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพยาบาลจบใหม่มีความรู้ (Z = -3.20, p = .001) ทัศนคติ (Z = -2.56, p = .011) และทักษะการปฏิบัติบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง (Z = -3.06, p = .002) ก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยทั้ง 2 กลุ่มมีความรู้ ทัศนคติและทักษะการปฏิบัติบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงเพิ่มขึ้นหลังการพัฒนารูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงและมีความพึงพอใจในรูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (M=4.68, SD=.25)รูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงที่พัฒนาขึ้นสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการพยาบาลและเป็นแนวทางในการนำไปใช้ให้กับหน่วยงานอื่นได้ คำสำคัญ: พยาบาลพี่เลี้ยง, พยาบาลจบใหม่, หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม  
     คำสำคัญ พยาบาลพี่เลี้ยง พยาบาลจบใหม่ หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม 
ผู้เขียน
605060058-3 นาง นภวรรณ ปาณาราช [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0