2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การประเมินศักยภาพในการเกิดไตรฮาโลมีเทนในระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำประปา โดยใช้เทคนิคฟลูออเรสเซนต์เอ็กซ์ไซเทชัน-อีมิสชัน เมทริกซ์ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 10 สิงหาคม 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สำนักงานวิจัย นวัตกรรมและพันธมิตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 43 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม-กันยายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า  
     บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของสารอินทรีย์ในน้ำกับศักยภาพในการเกิดสารพลอยได้กลุ่มไตรฮาโลมีเทน (Trihalomethanes, THMs) ในการทำปฏิกิริยากับสารฆ่าเชื้อโรคกลุ่มคลอรีน ซึ่งสารกลุ่มไตรฮาโลมีเทนประกอบไปด้วย คลอโรฟอร์ม โบรโมไดคลอโรมีเทน ไดโบรโมคลอโรมีเทน และโบรโมฟอร์ม โดยเก็บน้ำตัวอย่างจากระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำประปามหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นระยะเวลา 7 เดือน (ธันวาคม 2560 ถึง มิถุนายน 2561) และศึกษาคุณลักษณะของสารอินทรีย์โดยการตรวจวัดค่าการดูดซับแสงที่คลื่นความยาว 254 นาโนเมตร (ultraviolet absorbance at 254 nm, UVA254 ) ปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ละลายน้ำ (Dissolved organic carbon, DOC) และฟลูออเรสเซนต์เอ็กซ์ไซเทชัน-อีมิสชัน เมทริกซ์ (fluorescence excitation-emission matrix, EEM) จากผลการทดลอง พบว่า ปริมาณความต้องการคลอรีนเป็นอัตราส่วนโดยตรงกับค่า DOC และศักยภาพการเกิดสารกลุ่มไตรฮาโลมีเทนทั้งสี่ชนิด (Total THM formation potential, TTHM-FP24) ของน้ำดิบเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล คือ มีค่าสูงในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ จากนั้นมีค่าลดลงในเดือนมีนาคม-มิถุนายน การเติมคลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อโรคลงในน้ำตัวอย่างส่งผลให้เกิดคลอโรฟอร์มสูงกว่าสารกลุ่มไตรฮาโลมีเทนชนิดอื่น เทคนิคฟลูออเรสเซนต์ EEM ทำให้สามารถจำแนกประเภทสารอินทรีย์ได้สามประเภท คือ สารอินทรีย์ที่มีสมบัติเหมือนกรดฟูลวิค สารอินทรีย์ที่มีสมบัติเหมือนกรดฮิวมิก และสารอินทรีย์ที่มีสมบัติเหมือนโปรตีน และพบว่าค่า TTHM-FP24 แปรผันตามสารอินทรีย์กลุ่มกรดฮิวมิกอย่างมีนัยสำคัญ (R2 = 0.61, p <0.01) มากกว่าค่า UVA254 และ DOC (R2 = 0.30-0.50, p <0.01) ผลจากการศึกษาสมบัติเชิงฟลูออเรสเซนต์ของสารอินทรีย์นี้สามารถนำไปใช้เพื่อควบคุมกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำประปาในการกำจัดสารตั้งต้นของสารกลุ่มไตรฮาโลมีเทนได้ 
     คำสำคัญ ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำประปา / สารอินทรีย์ละลายน้ำ / ไตรฮาโลมีเทน /ฟลูออเรสเซนต์ 
ผู้เขียน
605040046-2 น.ส. วัจนีย์ เหล่าเลิศวรกุล [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0