2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article ขนาดการกระจายตัวของฝุ่นละอองขนาดเล็กในพื้นที่ที่มีแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศของจังหวัดขอนแก่น 
Date of Acceptance 13 August 2020 
Journal
     Title of Journal วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 
     Standard TCI 
     Institute of Journal บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
     ISBN/ISSN  
     Volume 21 
     Issue
     Month กรกฏาคม - กันยายน
     Year of Publication 2020 
     Page  
     Abstract การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณฝุ่นละอองเล็กกว่า 10 และ 2.5 ไมครอน และความแตกต่างขนาดการกระจายตัวของฝุ่นละอองขนาดเล็กจากพื้นที่การเกษตร พื้นที่จราจรหนาแน่น และพื้นที่ตลาดนัดของจังหวัดขอนแก่น ระหว่างฤดูหนาวและฤดูร้อน โดยเครื่อง Andersen Cascade Impactor 8 ชั้นผลการศึกษาพบว่าในฤดูหนาวพื้นที่ที่มีฝุ่นละอองสูงที่สุด คือพื้นที่การเกษตร โดยค่าเฉลี่ยฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 และ 2.5 ไมครอน เท่ากับ 106.66±7.80 และ 42.28±3.93 มคก./ลบ.ม. ตามลำดับ เหมือนกับฤดูร้อนพื้นที่การเกษตรมีค่าฝุ่นละอองเล็กกว่า 10 และ 2.5 ไมครอน สูงที่สุด เฉลี่ยเท่ากับ 92.87±9.75 และ 45.75±7.60 มคก./ลบ.ม. ตามลำดับ วิเคราะห์ด้วยสถิติ Independent t test พบว่าค่าเฉลี่ยของฝุ่นละอองขนาดเล็กทั้ง 3 พื้นที่กับฤดูกาล แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p–value >0.05) และวิเคราะห์ด้วยสถิติ one-way ANOVA พบว่า ค่าเฉลี่ยฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน ช่วงฤดูหนาวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้ง 3 พื้นที่ (p-value < 0.05) ขนาดการกระจายตัวของฝุ่นละอองขนาดเล็ก พบว่าพื้นที่การเกษตรทั้งฤดูหนาวและฤดูร้อนมีการกระจายของฝุ่นละอองขนาด > 4.7 ไมครอน สูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 46.74 และ 39.53 ตามลำดับ เหมือนกับพื้นที่การจราจรหนาแน่น ในฤดูหนาวและฤดูร้อน พบฝุ่นละอองขนาด >4.7 ไมครอน สูงที่สุดคิดเป็นร้อยละ 42.37 และ 40.14 ตามลำดับ ซึ่งสามารถเข้าไปสะสมที่จมูกและช่องลำคอของมนุษย์ได้ แตกต่างจากพื้นที่ตลาดนัดที่ในฤดูหนาวและฤดูร้อน พบฝุ่นละอองขนาด <1.1 ไมครอน สูงที่สุดคิดเป็นร้อยละ 37.51 และ 36.88 ตามลำดับ ซึ่งฝุ่นสามารถเข้าไปสะสมที่ถุงลมปอด 
     Keyword ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 และ 2.5 ไมครอน, ขนาดการกระจายตัวของฝุ่นละออง 
Author
615110086-2 Mr. SARAYU MUNTAPHAN [Main Author]
Public Health Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation false 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0