2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการบริโภคผักผลไม้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 27 สิงหาคม 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 14 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม - มีนาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคผักและผลไม้ของกลุ่มวัยรุ่น ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 279 คน ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลด้วยการใช้แบบสอบถาม และแบบบันทึกการบริโภคอาหาร 3 วัน วิเคราะห์พลังงานและปริมาณสารอาหารที่ได้รับจากการบริโภคอาหาร โดยโปรแกรมสำเร็จรูป INMUCAL Version 4.0 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคผักผลไม้ โดยใช้สถิติการถดถอยพหุแบบโลจิสติกส์ (Multiple logistic regression) ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 15.27 ± 1.79 ปี โดยมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคผักและผลไม้ในระดับดี ร้อยละ 58.78 มีทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคผักและผลไม้ในระดับปานกลาง ร้อยละ 50.18 มีปัจจัยเอื้อต่อการบริโภคผักและผลไม้ในระดับสูง ร้อยละ 83.51 และ มีปัจจัยเสริมต่อการบริโภคผักและผลไม้ในระดับปานกลาง ร้อยละ 49.10 จากการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ พบว่า เพศชายจะมีการบริโภคผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอคิดเป็น 2.14 เท่า ของเพศหญิง (95%CI 1.24 – 3.71) อายุต่ำกว่าหรือเท่ากับ 15 ปีจะมีการบริโภคผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอคิดเป็น 3.23 เท่าของอายุมากกว่า 15 ปี (95%CI 1.94 – 5.40) กลุ่มตัวอย่างที่มีโรคประจำตัวจะมีการบริโภคผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอคิดเป็น 2.29 เท่าของกลุ่มตัวอย่างที่ไม่มีโรคประจำตัว (95%CI 1.10 – 4.77) และปัจจัยเสริมในระดับปานกลาง-ไม่ดี จะมีการบริโภคผักและผลไม้ที่ไม่พียงพอคิดเป็น 1.72 เท่าของกลุ่มตัวอย่างที่มีปัจจัยเสริมในระดับดี (95%CI 1.02 – 2.88) ดังนั้น ควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริม และรณรงค์ให้มีการเพิ่มปริมาณการบริโภคผักและผลไม้ โดยเฉพาะในนักเรียนมัธยมต้น รวมถึงให้นักเรียนได้ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ในการบริโภคผักผลไม้  
     คำสำคัญ นักเรียนมัธยม, ปัจจัย, การบริโภคผักและผลไม้  
ผู้เขียน
615110005-8 น.ส. ธิดาวรรณ สุวรรณมาลี [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0