2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผลของสารประกอบอนุพันธ์เคอร์คูมิน อีริโทรซิน และนาโนไทเทเนียมไดออกไซด์ ร่วมกับการกระตุ้นด้วยแสงสีฟ้าในกระบวนการบำบัดโฟโตไดนามิกต่อเชื้อราแคนดิดา อัลบิแคนส์ 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 25 มีนาคม 2563 
การประชุม
     ชื่อการประชุม มศว วิจัย ครั้งที่ 13 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 
     สถานที่จัดประชุม ออนไลน์ 
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพมหานคร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 25 มีนาคม 2563 
     ถึง 26 มีนาคม 2563 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 13 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 1273-1284 
     Editors/edition/publisher ISBN : 978-616-296-209-7 
     บทคัดย่อ กระบวนการบำบัดโฟโตไดนามิก เป็นการรักษาการแเชื้อรา โดยการสร้างอนุมูลอิสระ โดยใช้สารประกอบผสมของอีรีโทรซีนและอนุพันธ์ของเคอร์คูมินถูกนำมาใช้เป็นสารให้ความไวแสงเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาการสร้างอนุมูลอิสระสองประเภท คือ อนุมูลอิสระของไฮดรอกซิล และซูเปอร์ออกไซด์ ทดสอบสารไวแสงยี่สิบสองกลุ่มจากอีริโทรซิน 110 และ 220 ไมโครโมลาร์ และดีเมท็อกซีเคอร์คูมินหรือบิสดีเมท็อกซีเคอร์คูมิน 10 และ 20 ไมโครโมลาร์ ร่วมกับการมีหรือไม่มี นาโนไททาเนียมไดออกไซด์ร้อยละ 10 โดยมวล โดยมีสารละลายฟอตเฟสบัฟเฟอร์และยาน้ำแขวนตะกอนนิสแตตินถูกใช้เป็นกลุ่มควบคุมบวกและลบ เชื้อราแคนดิดา อัลบิแคนส์ถูกเพาะเลี้ยงบนกระจกปิดสไลด์ที่อยู่ภายในถาดเลี้ยงเชื้อ 6 หลุม จากนั้นทำการเติมสารไวแสงผสม 2 มิลลิลิตร ฉายแสงสีฟ้า (VALO® Ortho Cordless, USA), ความยาวคลื่น 395 - 480 นาโนเมตร, กำลัง 3,200 มิลลิวัตต์ต่อตารางเซนติเมตร , จะให้พลังแสง 72 จูลต่อตารางเซนติเมตร จากนั้นนำกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมาเลี้ยงในซาเบาโรดเด็กซ์โตรสอาก้า (Sabouraud dextrose agar) ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 48 ชั่วโมง วัดผลโดยการนับจำนวนโคโลนีของเชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์ โดยใช้หน่วยโคโลนีต่อมิลลิลิตร (CFU/ml) โดยวิธีวิธีดรอบเพลต (drop plate technique) ที่ความเข้มข้น 1 ต่อ 1,000 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Kruskal-Wallis test with post-hoc test ที่ p < 0.05 พบว่ากลุ่มที่สร้างอนุมูลอิสระของไฮดรอกซิลจะเป็นผลหลักในการฆ่าเชื้อโดยเฉพาะบิสดีเมท็อกซีเคอร์คูมินที่สามารถฆ่าเชื้อได้ดีโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งสารอื่น ส่วนในดีเมท็อกซีเคอร์คูมินการเติมอิริโทรซินและนาโนไททาเนียมไดออกไซด์ร้อยละ 10 โดยมวลจะช่วยให้ประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อดีขึ้นโดยเด่นชัด 
ผู้เขียน
605130012-8 นาย กษมา กันต์พิทยา [ผู้เขียนหลัก]
คณะทันตแพทยศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 13