2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งประคับประคอง อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 8 สิงหาคม 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ 
     ISBN/ISSN 1906-2605 
     ปีที่ 14 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-เมษายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical study) เพื่อศึกษาระดับความเครียด และปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งประคับประคอง ในพื้นที่อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบวัดความเครียดผู้ดูแล (Caregiver Strain Index : CSI) ในกลุ่มตัวอย่าง 128 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดของผู้ดูแลด้วยสถิติ Simple logistic regression นำเสนอด้วยค่า 95% CI และ p-value ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ผู้ดูแลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 67.19 อายุเฉลี่ย 51.06 ปี (SD = 6.84) สถานภาพสมรส ร้อยละ 69.53 จบการศึกษาต่ำกว่าชั้นมัธยมศึกษา ร้อยละ 50.78 อาชีพเกษตรกร ร้อยละ 57.03 รายได้เฉลี่ย 9,377 บาทต่อเดือน ส่วนใหญ่มีความเครียดระดับต่ำ ร้อยละ 64.06 รองลงมาคือความเครียดระดับปานกลาง และความเครียดระดับสูง ร้อยละ 25.00 และ 10.94 ตามลำดับ เมื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียระดับของผู้ดูแลพบว่า ระยะของโรคมะเร็งระยะที่ 3-4 มีความสัมพันธ์กับความเครียดสูงของผู้ดูแลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR = 5.79, 95% CI = 2.53 – 13.25, p-value <0.001) และระยะเวลาดูแลผู้ป่วยตั้งแต่ 8 ชั่วโมง/วันขึ้นไป มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR = 3.72, 95% CI = 1.54 – 8.95, p-value = 0.002) จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการจัดระบบการดูแลผู้ป่วยโดยการมีส่วนร่วมของหน่วยงานสาธารณสุข ชุมชน จิตอาสา ในการช่วยเหลือสับเปลี่ยนช่วงเวลาในการดูแลผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ดูแลมีเวลาในการผ่อนคลายความเครียดและภาระการดูแลผู้ป่วย  
     คำสำคัญ ความเครียด, ผู้ดูแล, การดูแลแบบประคับประคอง, ผู้ป่วยมะเร็ง 
ผู้เขียน
615110050-3 น.ส. พีรยา ลาภบุญเรือง [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0