2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือและคุณภาพผลงานนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่ได้รับการประเมินผลการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับที่แตกต่างกัน  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 8 กรกฎาคม 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (Journal of Educational Measurement Mahasarakham University : JEM-MSU) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กองบรรณาธิการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
     ISBN/ISSN print:0858-5520 online :2651-1444 
     ปีที่ 27 
     ฉบับที่ 2  
     เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับรูปแบบที่แตกต่างกัน 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นก่อนและหลังการทำกิจกรรมการแก้ปัญหาแบบร่วมมือที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับรูปแบบที่แตกต่างกัน และ3) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพผลงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับรูปแบบที่แตกต่างกัน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi -experiment design) กลุ่มตัวอย่างการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนฆ้องชัยวิทยาคม อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ ปีการศึกษา 2562 จำนวน 42 คน ได้มาโดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความสามารถการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ แบบประเมินคุณภาพผลงาน กิจกรรมการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ แบบบันทึกหลังการได้รับข้อมูลย้อนกลับ และรูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับ โดยรูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับ ได้แก่ รูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับแบบบอกคำตอบที่ถูกต้อง (Knowledge of Corrective Result Feedback : KCR) รูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับแบบบอกคำตอบที่ถูกต้องและให้การชี้แนะ (Knowledge of Corrective Result and Directive Feedback : KCR+ DF) และรูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับแบบบอกคำตอบที่ถูกต้อง และอธิบายรายละเอียด (Knowledge of Corrective Result and Elaborate Feedback : KCR+EF) ในการวิจัยได้แบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น 3 กลุ่มเท่าๆกัน กลุ่มละ 14 คน โดยคละความสามารถในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ โดยนักเรียนแต่ละกลุ่มได้รับรูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับทั้ง 3 รูปแบบครบทั้ง 3 รูปแบบและครบทั้ง 3 กิจกรรม สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ สถิติทดสอบ Wilcoxon Matched Pairs Sign-Rank Test สถิติ Kruskal-Wallis Test 
     คำสำคัญ ความสามารถในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ คุณภาพผลงาน รูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับ 
ผู้เขียน
615050097-0 น.ส. นงค์ธิญา มลากรรณ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0