2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article พฤติกรรมการเลือกบริโภคอาหารของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนแวงน้อยศึกษา จังหวัดขอนแก่น 
Date of Acceptance 23 September 2020 
Journal
     Title of Journal วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Standard TCI 
     Institute of Journal คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     Volume 14 
     Issue
     Month มกราคม-มีนาคม
     Year of Publication 2021 
     Page  
     Abstract ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงตามความเจริญก้าวหน้าของเศรษฐกิจ สังคม กระแสนิยมบริโภคส่งผลให้เกิดปัญหาทางโภชนาการ รวมทั้งการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกบริโภคอาหารและปัจจัยที่อิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกบริโภคของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนแวงน้อยศึกษา จังหวัดขอนแก่น เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา แบบภาคตัดขวาง Cross-sectional Descriptive Study กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2562 จำนวน 173 คนใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึง 31 มีนาคม 2563 ผลการศึกษาส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารปิ้งย่าง พฤติกรรรมการบริโภคอาหารดิบ พฤติกรรมการบริโภคอาหารเสริมและเครื่องดื่ม และพฤติกรรมการบริโภคอาหารต่างชาติ อยู่ในระดับไม่เหมาะสม ร้อยละ 78.61, 82.08, 67.05 และ 76.88 ตามลำดับ ด้านปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกบริโภคอาหารได้แก่ ปัจจัยนำที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคอาหาร พบว่า นักเรียนมีระดับความรู้ในการบริโภคอาหารอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 52.02 (คะแนนเฉลี่ย 11.04 ±2.13 ) จากคะแนนเต็ม 16 คะแนน ทัศนคติต่อการบริโภคอาหารอยู่ในระดับดี ร้อยละ 60.69 ฐานนิยม 1.65 ด้านปัจจัยเอื้อที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคอาหารภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ฐานนิยม 1.69 ร้อยละ 66.74 ด้านปัจจัยเสริมที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคอาหารภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ฐานนิยม 1.69 ส่วนใหญ่มีปัจจัยเสริมอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 60.12 พฤติกรรมการบริโภคอาหารในภาพรวมอยู่ในระดับไม่เหมาะสม ร้อยละ 74.57 ฐานนิยม 1.52 ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกบริโภคอาหาร ได้แก่ ปัจจัยนำด้านความรู้ในการบริโภคอาหาร และปัจจัยเอื้อที่เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร พบว่า ด้านความรู้ในการบริโภคอาหารของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่อยู่ในระดับปานกลางและระดับต่ำ มีพฤติกรรมการเลือกบริโภคอาหารไม่เหมาะสมมากกว่านักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีความรู้ในการบริโภคอาหารอยู่ในระดับดีถึง 2.62 เท่า และด้านปัจจัยเอื้อที่เกี่ยวกับการบริโภคอาหารของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีปัจจัยเอื้ออยู่ในระดับดีและระดับปานกลาง มีพฤติกรรมการเลือกบริโภคอาหารไม่เหมาะสมมากกว่านักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายมีปัจจัยเอื้อในระดับต่ำถึง 2.32 เท่า ปัจจัยทั้งหมดนี้มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกบริโภคอาหารของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % CI ข้อเสนอแนะ ควรมีการจัดให้ความรู้เพื่อสร้างความตระหนักและความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเลือกบริโภคอาหารให้เหมาะสมตลอดจนการจัดสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอาหารที่เหมาะสมภายในโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการเลือกบริโภคอาหารให้เหมาะสมกับสุขภาพร่างกาย และค่านิยมที่เหมาะสม 
     Keyword ปัจจัยการเลือกบริโภคอาหาร, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม 
Author
615110087-0 Miss NAVARIN PANCHAIYAPOOM [Main Author]
Public Health Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation false 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0