2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ชุมชนธนาคารต้นไม้บ้านท่าลี่ : การเกื้อกูลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อม (Communal Tree Bank of Thalee Village: Its Contribution to Socioeconomic and Environmental Benefits) 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 23 กันยายน 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารพื้นถิ่นโขง ชี มูล ( Mekong Chi Mun Art and Culture Journal) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 
     ISBN/ISSN ISSN: 2408-1639 
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม – ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายบริบทชุมชนและการปลูกต้นไม้ ประเมินประโยชน์เชิงเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ได้รับ และ ระบุปัจจัยที่ทำให้กลุ่มธนาคารต้นไม้ประสบความสำเร็จ สืบเนื่องจากกลุ่มธนาคารต้นไม้บ้านท่าลี่สามารถขายคาร์บอนเครดิตได้เป็นแห่งแรก ทั้งที่ชุมชนอื่นๆ ที่ดำเนินการในลักษณะเดียวกันนี้ก็มีความพยายามอยู่เช่นกันแต่ยังทำไม่สำเร็จ ศึกษาโดยการสัมภาษณ์แบบ SSI จากผู้รู้ที่เกี่ยวข้อง ตามหลักการ RRA ใช้ข้อมูลทุติยภูมิ และใช้แบบสอบถามสั้นๆ เก็บข้อมูลจากทุกครัวเรือนในประเด็นการใช้ฟืนหุงต้มเพื่อเสริมการสัมภาษณ์ พบว่า บ้านท่าลี่ตั้งอยู่ในเขตนิเวศเกษตรแบบอาศัยน้ำฝน มีสภาพคล้ายชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยโดยทั่วไป มีพื้นที่แบบลอนลูกคลื่น ทำนาในที่ลุ่ม ปลูกพืชไร่ในที่ดอน ในอดีตชุมชนเคยขาดแคลนฟืนอย่างหนัก แต่สามารถฟื้นสภาพป่าขึ้นมาได้ใหม่เมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมานี้โดยการรวมกลุ่มธนาคารต้นไม้ จากการปลูกต้นไม้ของสมาชิกทำให้ระบบนิเวศฟื้นตัว เกิดผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทำให้แก้ปัญหาขาดแคลนฟืนได้ โดยค่าเฉลี่ยการใช้พลังงานหุงต้มอยู่ที่ 0.040175 toe ต่อครัวเรือนต่อปี ขายคาร์บอนเครดิตได้ 380 ตันคาร์บอน มีมูลค่าต้นไม้รวมกว่า 10 ล้านบาท มีพรรณไม้ 54 ชนิด ดินและอากาศชุ่มชื้น สิ่งแวดล้อมดีขึ้น เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพกลายเป็นแหล่งอาหารตามธรรมชาติที่สำคัญสำหรับครัวเรือน เกิดระบบวนเกษตรรวมกลุ่มสร้างอาชีพสร้างรายได้ ชุมชนมีชื่อเสียงเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของ ธกส. ด้านธนาคารต้นไม้ กระทรวงพาณิชย์ได้คัดเลือกให้เป็นชุมชนตามแนวนโยบายใช้ต้นไม้ค้ำประกันสินเชื่อ กลุ่มธนาคารต้นไม้บ้านท่าลี่ประสบความสำเร็จเนื่องจากกลุ่มดำเนินงานสอดคล้องกับวิถีชีวิต การมีส่วนร่วมเสริมสร้างความเข้มแข็งภายในชุมชน บริหารจัดการกลุ่มด้วยการใช้ข้อมูล ใช้องค์ความรู้และมีภาวะผู้นำ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการปลูกต้นไม้เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศภาคในชนบทจะสำเร็จได้ต้องสอดคล้องกับบริบทชุมชน ตรงกับปัญหาความต้องการของชาวบ้าน มีหน่วยงานสนับสนุนที่เหมาะสมและดำเนินการได้ต่อเนื่อง 
     คำสำคัญ ธนาคารต้นไม้, คาร์บอนเครดิต, การพัฒนาชุมชน, วนเกษตร, ระบบนิเวศเกษตร 
ผู้เขียน
567030028-0 ว่าที่ ร.ต. ดิรก สาระวดี [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0