2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article การเปรียบเทียบปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2-e) ที่เกิดขึ้นระหว่างการผลิตคอนกรีตทั่วไปและจีโอโพลีเมอร์คอนกรีตเพื่ออุตสาหกรรมการก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยใช้วิธีการประเมินวัฏจักรชีวิต 
Date of Acceptance 1 October 2020 
Journal
     Title of Journal วารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา)  
     Standard TCI 
     Institute of Journal บรรณาธิการ วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 
     ISBN/ISSN  
     Volume 21 
     Issue
     Month ตุลาคม-ธันวาคม
     Year of Publication 2021 
     Page  
     Abstract อุตสาหกรรมการก่อสร้างมีการใช้ปูนซีเมนต์เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตคอนกรีตเพื่อการก่อสร้างอาคาร อย่างไรก็ตามกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์มีการใช้งานพลังงานและก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ออกสู่สภาพแวดล้อมมากที่สุดเมื่อเทียบกับวัตถุดิบชนิดอื่นๆ เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการผลิตปูนซีเมนต์ที่เพิ่มขึ้นได้มีการพยายามหาคอนกรีตชนิดอื่นมาใช้แทนคอนกรีตปกติ เช่น จีโอโพลิเมอร์คอนกรีตซึ่งมีเถ้าลอยเป็นส่วนผสม โดยเถ้าลอยเป็นของเสียที่ได้จากโรงงานผลิตไฟฟ้าถ่านหิน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบหาปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2-e) จากการผลิตคอนกรีต 1 ลูกบาศก์เมตร ที่ให้ค่ากำลังรับแรงอัดของคอนกรีตเท่ากับ 40 MPa อายุที่ 28 วัน ทั้ง 2 ประเภท ด้วยวิธีการประเมินวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Assessment: LCA) ในการวิเคราะห์หาค่าปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2-e) โดยอาศัยข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรมและจากการสำรวจภาคสนาม จากการศึกษาพบว่า ผลรวมปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2-e) สำหรับการผลิตคอนกรีตทั้ง 2 ประเภทเป็นดังนี้ คอนกรีตปกติ มีค่าเท่ากับ 451.09 kg-CO2-e / m3และจีโอโพลีเมอร์คอนกรีต มีค่าเท่ากับ 420.49 kg-CO2-e / m3 
     Keyword การประเมินวัฏจักรชีวิต (LCA) จีโอโพลิเมอร์คอนกรีต คอนกรีตทั่วไป 
Author
585040084-2 Mr. SUPAKORN ARANYASEN [Main Author]
Engineering Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0