2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 3 ตุลาคม 2563 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมสัมมนาทางวิชาการระดับชาติและงานบริหารสัมพันธ์ประจำปี 2562 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย 
     สถานที่จัดประชุม ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน 
     จังหวัด/รัฐ ชลบุรี 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 26 เมษายน 2562 
     ถึง 26 เมษายน 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2562 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 280-289 
     Editors/edition/publisher รองศาสตราจารย์ ดร.จิณณวัตร ปะโคทัง 
     บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 2) ศึกษาแนวทางในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ศึกษาองค์ประกอบของการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 จำนวน 52 โรงเรียน โดยมีผู้บริหารสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 654 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 267 คน โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ 1) ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 52 คน 2) ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 52 คน 3) ครูที่เป็นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 52 คน 4) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 111 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ โดยถามครอบคลุมการดำเนินงานของโรงเรียน 4 ด้าน การวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยหาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.) และวิเคราะห์สภาพพึงประสงค์ โดยใช้วิธี Modified Priority Needs Index (PNI Modified) โดยหาค่าผลต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของสภาพที่พึงประสงค์ (I) กับค่าเฉลี่ยของสภาพที่เป็นจริงในปัจจุบัน (D) แล้วหารด้วยค่าเฉลี่ยของสภาพที่เป็นจริงในปัจจุบัน เพื่อถ่วงน้ำหนักก่อนนำมาจัดลำดับ โดยใช้หลักเกณฑ์การกำหนดความต้องการจำเป็นจากระดับสภาพปัจจุบัน แล้วจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นตามค่า PNI Modifie เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย ดำเนินการ 2 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 5 เรื่อง เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบของการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จากแนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และ 2) ยืนยันองค์ประกอบของการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามกรอบที่ได้สังเคราะห์จากเอกสาร โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วมในการคิด 2) การมีส่วนร่วมในการวางแผน 3) การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ 4) การมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัจจุบันของพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยค่าเฉลี่ยสูงสุด ด้านการบริหารงานทั่วไป ( = 4.32, S.D. = 0.68) และค่าต่ำสุด คือ ด้านการบริหารงานวิชาการ ( =4.18, S.D. = 0.66) และสภาพพึงประสงค์ของพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านการบริหารงานทั่วไป ( =4.67, S.D. = 0.56) และค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการบริหารงานวิชาการ ( =4.55, S.D. = 0.61) และมีความต้องการจำเป็น(PNIModified) ของพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 โดยเรียงจากดัชนีลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปน้อย คือ ด้านการบริหารงานงบประมาณ มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด (PNIModified = 0.095) 2. แนวทางการพัฒนาพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีอยู่ 4 แนวทาง คือ 1) ด้านการมีส่วนร่วมในการคิด 2) ด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผน 3) ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินการ และ 4) ด้านการมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล คำสำคัญ: การมีส่วนร่วม, คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน,การบริหารสถานศึกษา  
ผู้เขียน
605050099-5 นาย ภูมินทร์ภัทร์ จิณณรัตนากุล [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0