2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title ความแข็งแรงยึดดึงระดับจุลภาคของการซ่อมแซมเรซินคอมโพสิตด้วยสารยึดติดที่แตกต่างกัน 
Date of Distribution 29 May 2020 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ประจำปี 2563 ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 5 
     Organiser มหาวิทยาลัยราชธานี 
     Conference Place Zoom Meeting 
     Province/State อุบลราชธานี 
     Conference Date 29 May 2020 
     To 29 May 2020 
Proceeding Paper
     Volume
     Issue
     Page 59 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความแข็งแรงยึดดึงในการซ่อมแซมวัสดุเรซินคอมโพสิตโดย เปรียบเทียบระหว่างการใช้สารยึดติดชนิดต่างๆเตรียมชิ้นทดสอบเรซินคอมโพสิตทรงกระบอก (เส้นผ่าน ศูนย์กลาง 4.5 มิลลิเมตร สูง 4 มิลลิเมตร) จำนวน 100 ชิ้น แบ่งออกเป็นสองกลุ่มเท่า ๆ กัน ได้แก่ กลุ่มที่นำไป ซ่อมแซมทันทีและกลุ่มที่จำลองอายุการใช้งาน โดยใช้เครื่องควบคุมอุณหภูมิเป็นจังหวะ จำนวน 5,000 รอบ มีการเตรียมพื้นผิวด้วยเข็มกรอกากเพชรก่อนนำไปซ่อมแซม แล้วแบ่งทั้งสองกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่มย่อยตามชนิด ของสารยึดติด ได้แก่ 1) สก็อตช์บอนด์มัลติเพอโพส 2) ซิงเกิลบอนด์ทู3) เคลียร์ฟิลเอสอีบอนด์ 4) ซิงเกิล บอนด์ยูนิเวอร์แซล และ 5) ออลบอนด์ยูนิเวอร์แซล แล้วอุดซ่อมแซมด้วย เรซินคอมโพสิต นำไปแช่ ในน้ำกลั่น อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ก่อนตัดชิ้นงานจนเกิด ชิ้นทดสอบรูปแท่ง หน้าตัดสี่เหลี่ยม โดยมีขนาดของพื้นที่หน้าตัด 1 x 1 มิลลิเมตร สูง 8 มิลลิเมตร แล้วนำไปทดสอบความแข็งแรงยึดดึงระดับ จุลภาคด้วยเครื่องทดสอบแรงดึง วิเคราะห์ผลทางสถิติด้วยการทดสอบ ความแปรปรวนแบบทางเดียว โดย เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติการทดสอบของบอนเฟอร์โรนี ที่ความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 ผลการศึกษาพบว่าการใช้สารยึดติดในกลุ่มที่ 1, 3, 4 และ 5 ในการซ่อมแซมเรซินคอมโพสิตใหม่ ให้ค่าความ แข็งแรงยึดดึงระดับจุลภาคที่ไม่ต่างกันทางสถิติ (p ≥ 0.05) ยกเว้นกลุ่มที่ 2 ให้ค่าที่ต่ำกว่ากลุ่มอื่นๆอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ในกลุ่มที่ผ่านการจำลองอายุการใช้งาน พบว่ากลุ่มยูนิเวอร์แซลแอดฮีซีฟ (4 และ 5) มีค่าความแข็งแรงยึดดึงระดับจุลภาคมากกว่ากลุ่มที่ 1, 2 และ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยที่ กลุ่มที่ 1 มีค่าน้อยที่สุด (p < 0.05) และพบว่าการจำลองอายุการใช้งานเรซินคอมโพสิตโดยวิธีนี้ ทำให้ความ แข็งแรงยึดดึงระดับจุลภาคลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกกลุ่ม (p < 0.05) ผลการศึกษา การใช้สาร ยึด ติดในการซ่อมแซม เรซินคอมโพสิตให้ผลความแข็งแรงยึดดึงระดับจุลภาคที่มีความแตกต่างกันระหว่างชนิด ของสารยึดติดและอายุของเรซินคอมโพสิต โดยในกลุ่มเรซินคอมโพสิตใหม่ให้ค่าความแข็งแรงยึดดึงระดับ จุลภาคในสารยึดติดชนิดต่าง ๆ มีค่าใกล้เคียงกัน ยกเว้นกลุ่มซิงเกิลบอนด์ทูซึ่งให้ค่าน้อยกว่าทุกกลุ่ม ในกลุ่ม เรซินคอมโพสิตที่ผ่านการจำลองการใช้งานมาแล้ว พบว่าค่าความแข็งแรงยึดดึงระดับจุลภาคลดลง ในทุกกลุ่ม ของสารยึดติด และการใช้ซิงเกิลบอนด์ยูนิเวอร์แซล และออลบอนด์ยูนิเวอร์แซล ให้ค่าความแข็งแรงยึดดึง ระดับจุลภาคมากกว่าการใช้สารยึดติดชนิดอื่นๆ 
Author
605130011-0 Miss ANURATCHANEE ANUSSORNRAJAKIT [Main Author]
Dentistry Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 15