2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลของการใช้โปรแกรม “Touch-to-Talk” ผ่านแท็บเล็ตต่อประสิทธิภาพในการสื่อสารและความพึงพอใจในผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ : การศึกษานำร่อง 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 13 ตุลาคม 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารพยาบาลศาสตร์ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 
     ISBN/ISSN
     ปีที่ 39 
     ฉบับที่
     เดือน เมษายน ถึง มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรม “Touch-to-Talk” ผ่านแท็บเล็ตต่อประสิทธิภาพในการสื่อสารและความพึงพอใจในผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ รูปแบบการวิจัย: แบบกึ่งทดลองชนิดกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการทดลอง วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจที่เข้ารักษาในหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตอายุรกรรม 3 หอผู้ป่วย ของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง จำนวน 10 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการจับสลากเพื่อคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมการวิจัย โดยกลุ่มตัวอย่างจะใช้วิธีสื่อสารด้วยโปรแกรม “Touch-to-Talk” ผ่านแท็บเล็ต เป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารในผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ 3) แบบประเมินประสิทธิภาพในการสื่อสาร และ4) แบบประเมินความพึงพอใจ การพัฒนาโปรแกรม “Touch-to-Talk” ผ่านแท็บเล็ตมีการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับความต้องการของผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวม และสิ่งแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์กับผู้ป่วยทั้งหมด 47 เรื่อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติการทดสอบ Wilcoxon signed rank test ผลการวิจัย: หลังการทดลองใช้โปรแกรม “Touch-to-Talk” ผ่านแท็บเล็ต ในผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ จำนวน 10 คน พบว่าคะแนนเฉลี่ยประสิทธิภาพในการสื่อสารหลังการทดลองเพิ่มขึ้นจาก 5.59 เป็น 9.2 เมื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบพบว่าคะแนนเฉลี่ยประสิทธิภาพในการสื่อสารหลังการทดลองมีความแตกต่างกันกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = .005, p < .05) ความพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรมมีค่าเฉลี่ยคะแนน เท่ากับ 4.53 สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการสื่อสารด้วยโปรแกรม “Touch-to-Talk” ผ่านแท็บเล็ต มีประสิทธิภาพในการสื่อสารเพิ่มขึ้นและมีความพึงพอใจในการใช้ในระดับมาก ดังนั้นควรมีการพัฒนาต่อ โดยนำไปศึกษาวิจัยทดลองในกลุ่มตัวอย่างมากขึ้นและใช้รูปแบบการวิจัยที่น่าเชื่อถือ  
     คำสำคัญ การสื่อสาร ผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ ความพึงพอใจ โปรแกรม “Touch-to-Talk” ผ่านแท็บเล็ต  
ผู้เขียน
615060004-7 นาง จิราพร กลั่นเขตรกรรม [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0