2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ปัจจัยทำนายการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 3 พฤศจิกายน 2563 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารการพยาบาลเเละการดูแลสุขภาพ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สำนักงานสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะพยาบาล มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 38 
     ฉบับที่
     เดือน ตุลาคม - ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจกับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และปัจจัยทำนายการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ศึกษาในประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ในอำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามเกณฑ์คัดเข้า จำนวน 290 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามมี 4 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลทั่วไป 2) ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ 3) การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และ 4) การรับรู้สุขภาพทั่วไป ประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจด้วยการคำนวณจาก RAMA EGAT Heart Score วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยายได้แก่ ร้อยละ และการแจกแจงความถี่ และสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณด้วยเทคนิคการวิเคราะห์แบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 52.10 รับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอยู่ในระดับต่ำ รองลงมาคือ รับรู้โอกาสเสี่ยงปานกลาง ร้อยละ 24.50 และรับรู้โอกาสเสี่ยงสูง ร้อยละ 23.40 นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างมีระดับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจเรียงตามลำดับ คือ ปานกลาง ร้อยละ 35.90, สูงมาก ร้อยละ 26.90, และต่ำ ร้อยละ 16.60 ปัจจัยทำนายการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ได้แก่ อายุ น้ำหนัก รายได้ คะแนนความเสี่ยงตาม RAMA EGAT Heart Score และการนอนไม่หลับ ซึ่งร่วมกันทำนายการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ ร้อยละ 38.48 (F = 15.51, p-value < 0.001) การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยมีขนาดความสัมพันธ์เท่ากับ 2.55 (p-value < 0.001) ดังนั้น ผลการศึกษาครั้งนี้สนับสนุนว่า การส่งเสริมการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยคำนึงถึงปัจจัยด้าน อายุ น้ำหนัก รายได้ ความเสี่ยงตาม RAMA EGAT Heart Score และการนอนไม่หลับ ไปใช้ประกอบการพิจารณาวางแผนให้คำแนะนำเพื่อปรับการรับรู้ความเสี่ยง ส่งเสริมการตัดสินใจรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป  
     คำสำคัญ การรับรู้โอกาสเสี่ยง ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ คะแนนความเสี่ยง  
ผู้เขียน
615060057-6 นาย จรรฎา ภูยาฟ้า [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0