2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยแนวทางการเรียนรู้เชิงรุกและการกำกับตนเอง เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียน สำหรับนักศึกษาครู สาขาวิชาภาษาไทย 
Date of Acceptance 16 November 2020 
Journal
     Title of Journal วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร 
     Standard TCI 
     Institute of Journal สำนักงานโครงการหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 
     ISBN/ISSN 2539-6765 
     Volume
     Issue
     Month พฤษภาคม
     Year of Publication 2021 
     Page
     Abstract วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ด้วยแนวทางการเรียนรู้เชิงรุกและการกำกับตนเอง เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยการวิจัยในชั้นเรียน สำหรับนักศึกษาครู สาขาวิชาภาษาไทย ของสถาบันผลิตครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ประชากร ได้แก่ อาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวน 65 คน นักศึกษาครู สาขาวิชาภาษาไทย จำนวน 1,260 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อาจารย์ จำนวน 12 คน ได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบและนักศึกษาครู จำนวน 120 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความคิดเห็น เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า และ 2) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า ค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNI) ระหว่างสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่ควรจะเป็นในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน มีความแตกต่างกันทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ความต้องการและความจำเป็นเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยแนวทางการเรียนรู้เชิงรุกและการกำกับตนเอง สำหรับอาจารย์ โดยรวมมีค่า PNI = 0.22 ในขณะที่สำหรับนักศึกษา โดยรวมมีค่า PNI = 0.19 และด้านที่ 2 ความต้องการและความจำเป็นเกี่ยวกับการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียน สำหรับอาจารย์ โดยรวม มีค่า PNI = 0.29 ในขณะที่สำหรับนักศึกษาโดยรวมมีค่า PNI = 0.16 ผลการสัมภาษณ์ พบว่า อาจารย์และนักศึกษามีความต้องการในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยแนวทางการเรียนรู้เชิงรุกและการกำกับตนเอง เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียน เนื่องจากการเรียนรู้เชิงรุกเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองจากการปฏิบัติ ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน โดยการได้รับคำแนะนำจากผู้สอนอย่างใกล้ชิด ผู้สอนได้ใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีการวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงและหากผู้เรียนมีความสามารถในการกำกับตนเองในการเรียนรู้จะส่งผลให้การวิจัยในชั้นเรียนประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้  
     Keyword รูปแบบการเรียนการสอน ; การเรียนรู้เชิงรุก ; การกำกับตนเอง ; สมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียน 
Author
577050007-7 Miss AREERAT NONSUWAN [Main Author]
Education Doctoral Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0