2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผลการฝึกสมาธิที่มีต่อความแม่นยำในการเตะจุดโทษในนักกีฬารักบี้ฟุตบอลชายระดับอายุ 16 - 18 ปี 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 28 ธันวาคม 2563 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ นนทรีอีสาน ครั้งที่ 8 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร 
     สถานที่จัดประชุม ห้องประชุมระพีสาคริก อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ 
     จังหวัด/รัฐ สกลนคร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 28 พฤศจิกายน 2563 
     ถึง 28 พฤศจิกายน 2563 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์
     Editors/edition/publisher
     บทคัดย่อ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกสมาธิที่มีต่อความแม่นยำในการเตะจุดโทษในกีฬารักบี้ฟุตบอล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นนักกีฬารักบี้ฟุตบอลชาย อายุ 16 – 18 ปี จำนวน 12 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบโดยวิธีการจำแนกกลุ่ม (randomly assignment) ทุกคนได้รับการทดสอบความแม่นยำในการเตะจุดโทษ นำผลที่ได้จากการทอสอบมาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 6 คน คือ 1. กลุ่มทดลอง(ฝึกสมาธิควบคู่กับการฝึกโปรแกรมปกติตามผู้ฝึกสอน) และ 2. กลุ่มควบคุม(ฝึกโปรแกรมปกติตามผู้ฝึกสอนเพียงอย่างเดียว) ใช้เวลาในการฝึก 8 สัปดาห์ๆ ละ 3 วันๆ ละ 10 นาที ก่อนการฝึกและหลังการฝึก 8 สัปดาห์ ทำการทดสอบความแม่นยำในการเตะจุดโทษนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หา ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนความแม่นยำในการยิงจุดโทษ ภายในกลุ่มก่อนและหลังการทดลองกลุ่มที่ได้รับการฝึกสมาธิและกลุ่มควบคุมตามลำดับ โดยการทดสอบ Wilcoxon sign - rank test เปรียบเทียมความแตกต่างของคะแนนความแม่นยำการยิงจุดโทษ หลังการทดลองระหว่างกลุ่มที่ได้ฝึกสมาธิและกลุ่มควบคุม โดยการทดสอบ Mann - Whitney U test ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มทดลองฝึกสมาธิควบคู่กับการฝึกโปรแกรมตามปกติตามผู้ฝึกสอนมีความแม่นยำภายหลังการฝึก 8 สัปดาห์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับที่ .05 2. กลุ่มควบคุมฝึกโปรแกรมปกติตามผู้ฝึกสอนเพียงอย่างเดียวมีความแม่นยำภายหลัง การฝึก 8 สัปดาห์ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. กลุ่มทดลองฝึกสมาธิควบคู่กับการฝึกโปรแกรมตามปกติตามผู้ฝึกสอนมีความแม่นยำสูงกว่า กลุ่มควบคุมฝึกโปรแกรมปกติตามผู้ฝึกสอนเพียงอย่างเดียว หลังการฝึก 8 สัปดาห์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  
ผู้เขียน
585100011-6 นาย เสกสรร น้ำเพชร [ผู้เขียนหลัก]
บัณฑิตวิทยาลัย ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0